Page 137 - kpiebook63019
P. 137

132






                     
     4.2.5.2  ผลการประเมินรัฐสภา ด้านสำนึกรับผิดชอบของรัฐสภา จำแนกตาม

               กลุ่มผู้ให้ข้อมูล

                     
 
 
 
     
   หากพิจารณาผลการประเมินตามกลุ่มผู้ให้ข้อมูล พบว่า ผลการดำเนินงานของ

               สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้านความสำนึกรับผิดชอบ ในกลุ่มเวทีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อุดรธานี)
               มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.84, S.D. = 0.73) ในขณะที่

               กลุ่มเวทีภาคใต้ (นครศรีธรรมราช) มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง
               (ค่าเฉลี่ย = 2.35, S.D. = 0.89) และเมื่อวิเคราะห์ตามองค์ประกอบย่อย พบว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มเวที
               ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อุดรธานี) สูงกว่าค่าเฉลี่ยในภาพรวมของทุกองค์ประกอบ และค่าเฉลี่ยของกลุ่มเวที

               ภาคใต้ (นครศรีธรรมราช) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในภาพรวมของทุกองค์ประกอบเช่นกัน

                                     นอกจากนี้ มีข้อสังเกตว่า ค่าเฉลี่ยด้านความสำนึกความรับผิดชอบของสมาชิก
               รัฐสภาต่อประชาชนทั่วประเทศ ของกลุ่มเวทีภาคเหนือ (เชียงราย) และกลุ่มเวทีภาคใต้ (นครศรีธรรมราช)

               ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยด้านนี้ในภาพรวม ค่าเฉลี่ยด้านระบบการรายงาน ตรวจสอบ และลงโทษสมาชิกรัฐสภา
               กรณีมีพฤติกรรมผิดจริยธรรมหรือเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน ของกลุ่มเวทีภาคเหนือ (เชียงราย), กลุ่มเวที

               ภาคกลาง (กรุงเทพมหานคร) และกลุ่มเวทีภาคใต้ (นครศรีธรรมราช) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยด้านนี้ในภาพรวม ค่าเฉลี่ย
               ด้านการสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนที่มีต่อรัฐสภาของกลุ่มเวทีภาคกลาง (กรุงเทพมหานคร) และ
               กลุ่มเวทีภาคใต้ (นครศรีธรรมราช) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยด้านนี้ในภาพรวม และค่าเฉลี่ยด้านการพัฒนาการเรียนรู้

               และเสริมสร้างขีดความสามารถของสมาชิกรัฐสภาของกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และกลุ่มเวทีภาคใต้
               (นครศรีธรรมราช) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยด้านนี้ในภาพรวม สรุปผลได้ดังตาราง 4-12


               ตาราง 4-20 ค่าเฉลี่ยของผลการประเมินรัฐสภา ด้านความสำนึกรับผิดชอบ จำแนกผู้ประเมินตามกลุ่ม
               ผู้ให้ข้อมูล


                                                 ภาคเหนือ     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ    ภาคกลาง   ภาคใต้
                                 ผู้ทรงคุณวุฒิ
                                                 (เชียงราย)     (อุดรธานี)   (กรุงเทพมหานคร)   (นครศรีธรรมราช)
                 องค์ประกอบย่อย
                                 ค่าเฉลี่ย   S.D.   จำนวนผู้ตอบ   ค่าเฉลี่ย   S.D.   จำนวนผู้ตอบ   ค่าเฉลี่ย   S.D.   จำนวนผู้ตอบ   ค่าเฉลี่ย   S.D.   จำนวนผู้ตอบ   ค่าเฉลี่ย   S.D.   จำนวนผู้ตอบ




                     A1       3.44  1.15  16  2.83  0.92  18  3.09  1.27  22  3.13  0.89  16  2.68  1.09  22

                     A2       2.62  1.22  13  2.22  1.19  15  2.86  1.01  17  2.36  0.80  11  2.29  1.06  15

                     A3       2.83  1.01  14  2.56  0.97  16  2.63  0.87  19  2.17  1.08  12  2.33  0.76  15
                     A4       2.60  1.12  15  2.90  1.02  20  2.86  1.11  21  2.82  1.01  17  2.56  1.04  18

                      A       2.82  0.96  16  2.56  0.78  21  2.84  0.73  22  2.71  0.84  18  2.35  0.89  22













            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142