Page 135 - kpiebook63019
P. 135

130






                                     - จัดให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อออกแบบโครงสร้าง หน้าที่ความรับผิดชอบ เนื้อหาและ

               รูปแบบการสื่อสารให้สอดรับกับผู้รับสารที่มีความแตกต่างทางการศึกษา วัยวุฒิ พื้นที่ วัฒนธรรม เป็นต้น
               รวมทั้ง จัดให้มีระบบการสื่อสารแบบสองทาง (Two ways communications)


                                     - สภานิติบัญญัติแห่งชาติควรเข้ามาบริหารจัดการและกำหนดทิศทางการจัดทำ
               โครงการส่งเสริมความรู้ด้านรัฐสภาให้แก่เยาวชนด้วยตนเอง แทนข้าราชการรัฐสภา โดยปรับปรุงและออกแบบ

               โครงการหรือกิจกรรมสำหรับเยาวชนเพื่อให้มาสนใจในงานรัฐสภา มีเนื้อหา แนวคิด และการลงมือสู่การปฏิบัติ
               แก่ผู้เข้ารับการอบรม บนพื้นฐานหลักการมีส่วนร่วม

                                     - ให้สถาบันการศึกษา ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการหรือกิจกรรม

               ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้แก่เยาวชน รวมทั้งให้จัดสรรงบประมาณแก่
               สถาบันการศึกษา


                                     - เสนอให้มีการปรับปรุงหลักสูตรเรื่องการเมืองการปกครองของกระทรวง
               ศึกษาธิการ ให้แก่สถาบันการศึกษาแห่งชาติในการจัดทำกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย


                                     - ควรเปิดเผยข้อมูลพื้นฐานที่ถูกต้อง แม่นยำ ของสมาชิกรัฐสภาทั้งที่กฎหมาย
               กำหนดและที่พึงมี และเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน องค์กรที่ไม่
               แสวงหาผลกำไร สามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว


                                     - จัดให้มีโครงการประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภา และการจัดทำโพลสำรวจ
               ความเชื่อมั่นต่อรัฐสภา โดยสถาบันการศึกษาและสถาบันพระปกเกล้า เป็นระยะ ๆ


                                     - จัดให้มีฐานข้อมูลการอบรม การดูงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนา
               ขีดความสามารถของสมาชิกรัฐสภาผู้ปฏิบัติหน้าที่ช่วยงานสมาชิกรัฐสภา รายชื่อผู้เข้าอบรม ผลการประเมิน
               การอบรมประจำปีงบประมาณ


                                     - สร้างความร่วมมือกับรัฐสภาประเทศอาเซียน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนา
               สมรรถนะขีดความสามารถของสมาชิกรัฐสภา


                                     - จัดให้มีการศึกษาเปรียบเทียบการประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย
               กับรัฐสภานานาประเทศ โดยเฉพาะรัฐสภาอาเซียน รวมทั้งการจัดทำแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practices) ว่าด้วย
               การดำเนินงานของสมาชิกรัฐสภา


                                     - ทบทวนการได้มาของผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ ผู้ช่วยดำเนินงานประจำสมาชิก
               รัฐสภา โดยพิจารณาถึงปัจจัย ตามหลักการการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource

               Management)












            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140