Page 132 - kpiebook63019
P. 132
127
สูงกว่ากลุ่มอื่นในทุกภาค คือ 3.60 (ดูตาราง 4-13) โดยทั้งกลุ่มเวทีและกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็น
สอดคล้องกัน คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติและคณะกรรมาธิการได้มีการเปิดเผยผลการประชุมหรือ
ผลการดำเนินงานต่อสื่อ สามารถค้นหาและติดตามผลการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและ
คณะกรรมาธิการจากสื่อรัฐสภาได้ แต่สื่อมักไม่เผยแพร่หรือประชาสัมพันธ์ต่อประชาชน โดยผลการประชุมของ
คณะกรรมาธิการส่วนใหญ่เป็นเพียงรายงานสรุปผลการประชุมเท่านั้น
ในประเด็นการมีเสรีภาพของสื่อในการเข้าถึงและนำเสนอข่าวเกี่ยวกับการดำเนินงาน
ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เห็นว่าสื่อยังมีเสรีภาพจำกัดในการนำเสนอ
ข้อมูลข่าวสารการทำงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พร้อมกันนั้นสื่อเองยังต้องนำเสนอข่าวด้วย
ความระมัดระวัง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองเป็นช่วงสถานการณ์พิเศษหรือไม่ปกติ
กรณีการมีช่องทาง ความถี่ การครอบคลุมและความเหมาะสมของข้อมูลในการ
เผยแพร่การดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการ เห็นว่าช่องทางและการครอบคลุม
ในการเผยแพร่การดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและคณะกรรมาธิการมีความเหมาะสมดี โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง ช่องทางสื่อของรัฐสภา อาทิ เว็บไซต์ สื่อวิทยุและโทรทัศน์รัฐสภาทั้งผ่านทีวีและผ่านอินเตอร์เน็ต
เฟสบุ๊ค ซึ่งมีเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่โดยรอบ ทั้งนี้ จุดด้อยยังมีอยู่ คือ การสืบค้น ค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์
รัฐสภายังมีความยุ่งยาก การจัดหมวดหมู่ในเว็บไซต์ซับซ้อน อีกทั้งวิธีการสื่อสารของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
มีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว
ในด้าน รูปแบบ วิธีการ และภาษาที่ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลของสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ เห็นว่า ยังมีความเหมาะสมสำหรับนักวิชาการ ข้าราชการ หรือกลุ่มผู้สนใจงานของรัฐสภา แต่สำหรับ
ประชาชนส่วนใหญ่ เนื้อหาและการนำเสนอยังขาดความเกี่ยวโยงกับประชาชนทั้งในระดับพื้นที่และระดับ
ประเทศ นอกจากนี้ ภาษาที่ใช้ในรายงานการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในรูปแบบต่าง ๆ เป็นภาษา
ราชการ ภาษาวิชาการ และมีคำเฉพาะสาขาวิชาชีพ อาทิ ด้านพาณิชย์ อุตสาหกรรม กฎหมาย เป็นต้น ซึ่งยากที่
ประชาชนทั่วไปจะเข้าใจ และยังไม่มีการอำนวยความสะดวก หรือเอื้อประโยชน์ที่เหมาะสมต่อกลุ่มบุคคลที่มี
ความบกพร่องทางการมองเห็น และความบกพร่องทางการได้ยิน
การให้โอกาสและความสะดวกของประชาชนในการเสนอความคิดเห็น ปัญหา
ร้องทุกข์กับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและคณะกรรมาธิการโดยตรงนั้น สภานิติบัญญัติแห่งชาติจัดทำ
“โครงการ สนช. สัญจร” หรือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติพบประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้พบปะ และเสนอ
ความคิดเห็นปัญหาหรือร้องทุกข์ ต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและคณะกรรมาธิการโดยตรง แต่ปรากฏว่า
มีประชาชนเพียงจำนวนน้อยเท่านั้น ที่มีโอกาสได้เข้าพบสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและคณะกรรมาธิการ
โดยตรง
ส่วนโอกาสในการมีส่วนร่วมในการเสนอข้อมูลและความคิดเห็นในการพัฒนาและ
แก้ไขกฎหมาย การเข้าไปมีส่วนร่วมในการเสนอข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาและ
แก้ไขกฎหมาย ส่วนใหญ่กระทำผ่านตัวแทนกลุ่มภาคประชาชน อาทิ ผู้แทนกลุ่มข้าวเป็นผู้แทนที่เข้าไปชี้แจงต่อ
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)