Page 128 - kpiebook63019
P. 128
123
4.2.4.3 ผลการประเมินรัฐสภา ด้านความโปร่งใสและการเข้าถึงได้ของรัฐสภา จำแนกตาม
กลุ่มอาชีพ
หากพิจารณาผลการประเมินตามกลุ่มอาชีพ พบว่า ผลการดำเนินงานของ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้านความโปร่งใสและการเข้าถึงได้ ในกลุ่มอาชีพข้าราชการ/อดีตข้าราชการ/
องค์กรอิสระ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.76, S.D. = 0.87)
ในขณะที่กลุ่มอาชีพนักวิชาการ/ภาคประชาสังคม/สื่อมวลชน/อาชีพอิสระอื่น ๆ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด โดยมี
การดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.39, S.D. = 0.92) และ เมื่อวิเคราะห์ตามองค์ประกอบย่อย
พบว่า ค่าเฉลี่ยของกลุ่มอาชีพข้าราชการ/อดีตข้าราชการ/องค์กรอิสระ สูงกว่าค่าเฉลี่ยในภาพรวมของทุก
องค์ประกอบ
นอกจากนี้ มีข้อสังเกตว่า ค่าเฉลี่ยด้านการมีเสรีภาพของสื่อในการเข้าถึงและ
นำเสนอข่าวเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภา, ค่าเฉลี่ยด้านโอกาสและความสะดวก
ของประชาชนในการเสนอความคิดเห็น ปัญหา ร้องทุกข์กับผู้แทนและกรรมาธิการโดยตรง, ค่าเฉลี่ย
ด้านโอกาสในการมีส่วนร่วมเสนอข้อมูลและความคิดเห็นในการพัฒนาและแก้ไขกฎหมาย, ค่าเฉลี่ย
ด้านความโปร่งใสและปลอดจากอิทธิพลของนักธุรกิจและกลุ่มผลประโยชน์ของธุรกิจ และค่าเฉลี่ย
ด้านการดึงดูดเยาวชนให้สนใจงานของรัฐสภา ของกลุ่มอาชีพนักวิชาการ/ภาคประชาสังคม/สื่อมวลชน/
อาชีพอิสระอื่น ๆ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งห้าด้านนี้ในภาพรวม ส่วนค่าเฉลี่ยด้านการเปิดเผยข้อมูลผลการประชุม
ของรัฐสภาและคณะกรรมาธิการต่อสื่อและสาธารณะ และค่าเฉลี่ยด้านรูปแบบ วิธีการ และภาษาที่ใช้
ในการเผยแพร่ข้อมูลของรัฐสภาและกรรมาธิการ ของกลุ่มอาชีพนักการเมือง/อดีตนักการเมือง และกลุ่มอาชีพ
นักวิชาการ/ภาคประชาสังคม/สื่อมวลชน/อาชีพอิสระอื่น ๆ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งสองด้านนี้ในภาพรวม
และค่าเฉลี่ยด้านการมีช่องทาง ความถี่ และการครอบคลุมของการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงาน
ของรัฐสภาและกรรมาธิการของกลุ่มอาชีพนักการเมือง/อดีตนักการเมือง ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยด้านนี้ในภาพรวม
สรุปผลได้ดังตาราง 4-18
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)