Page 125 - kpiebook63019
P. 125

120






               กำหนดรายชื่อบุคคลผู้ควรได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ให้สมาชิกรัฐสภาเลือกจากบัญชีรายชื่อ

               ดังกล่าว

                                     - ในอีกแนวทางคือ นำงบประมาณทั้งหมดในการแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวมาตั้งทีมวิจัย

               นำผู้มีความรู้ความสามารถทำงานในส่วนกลาง และแยกตามความสามารถ กำหนดโจทย์ให้ทำ ลงพื้นที่รับฟัง
               ความคิดเห็นของประชาชนในแต่ละเรื่อง (กรรมาธิการ) อาทิ ศึกษาเรื่องของต่างประเทศ เป็นต้น

                     4.2.4  ผลการดำเนินงานของรัฐสภา ด้านความโปร่งใสและการเข้าถึงได้


                     
 
 
 4.2.4.1  ผลการประเมินรัฐสภา ด้านความโปร่งใสและการเข้าถึงได้ของรัฐสภาในภาพรวม

                     
 
 
 
         ผลการประเมินสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้านความโปร่งใสและการเข้าถึงได้

               ในภาพรวมพบว่า มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.51, S.D. = 0.93) โดยเมื่อพิจารณา
               ตามองค์ประกอบย่อย พบว่า ด้านการเปิดเผยข้อมูลผลการประชุมของรัฐสภาและคณะกรรมาธิการต่อสื่อ
               และสาธารณะ มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.16, S.D. = 1.05)

               รองลงมา คือด้านการมีเสรีภาพของสื่อในการเข้าถึงและนำเสนอข่าวเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐสภาและ
               สมาชิกรัฐสภา มีการดำเนินงานอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.08, S.D. = 1.17) ด้านการมีช่องทาง ความถี่ และ

               การครอบคลุมของการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐสภาและกรรมาธิการ มีการดำเนินงาน
               อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.85, S.D. = 0.95) ด้านรูปแบบ วิธีการ และภาษาที่ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูล
               ของรัฐสภาและกรรมาธิการ มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.76, S.D. = 1.00)

               ด้านความโปร่งใสและปลอดจากอิทธิพลของนักธุรกิจและกลุ่มผลประโยชน์ของธุรกิจ มีการดำเนินงาน
               อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.45, S.D. = 1.31) ด้านโอกาสและความสะดวกของประชาชนในการเสนอ

               ความคิดเห็น ปัญหา ร้องทุกข์กับผู้แทนและกรรมาธิการโดยตรง มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง
               (ค่าเฉลี่ย = 2.16, S.D. = 1.20)  ด้านการดึงดูดเยาวชนให้สนใจงานของรัฐสภา มีการดำเนินงานอยู่ในระดับ
               ปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.13, S.D. = 1.24) และ ด้านโอกาสในการมีส่วนร่วมเสนอข้อมูลและความคิดเห็น

               ในการพัฒนาและแก้ไขกฎหมาย มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย
               = 2.01, S.D. = 1.14) สรุปได้ดังภาพ 4-9































            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130