Page 121 - kpiebook63019
P. 121

116






               ตาราง 4-15  ค่าเฉลี่ยของผลการประเมินรัฐสภาด้านการตรวจสอบฝ่ายบริหาร จำแนกผู้ประเมินตาม

               กลุ่มอายุ


                                     น้อยกว่า 51 ปี              51-60 ปี               มากกว่า 60 ปี

                 องค์ประกอบย่อย
                                   ค่าเฉลี่ย   S.D.   จำนวนผู้ตอบ   ค่าเฉลี่ย   S.D.   จำนวนผู้ตอบ   ค่าเฉลี่ย   S.D.   จำนวนผู้ตอบ



                     O1         2.99     0.75     17      3.08    0.79     28      2.72     1.00     28

                     O2         2.91     1.20     22      2.73    0.90     30      2.67     0.98     29

                     O3          2.6     1.13     25      2.63     1.1     36      2.63     0.98     35

                     O4         3.08     1.21     24      2.89    1.17     36      3.29     1.31     34

                     O5         3.02     0.76     19      3.08    0.69     28      2.88     0.69     26

                      O         2.54     0.89     26      2.54    0.89     37      2.52     0.96     36

                     
 
   4.2.3.5  ผลการประเมินรัฐสภา ด้านการตรวจสอบฝ่ายบริหาร จำแนกข้อมูลตาม
               กลุ่มระดับการศึกษา


                     
 
 
 
     
   หากพิจารณาผลการประเมินตามกลุ่มระดับการศึกษา พบว่า ผลการดำเนินงาน
               ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้านการตรวจสอบฝ่ายบริหาร ในกลุ่มระดับการศึกษาปริญญาตรี มีค่าเฉลี่ย

               สูงที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.86, S.D. = 0.70) ในขณะที่ กลุ่มระดับ
               การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.19,
               S.D. = 0.97) และเมื่อวิเคราะห์ตามองค์ประกอบย่อย พบว่า ค่าเฉลี่ยของกลุ่มระดับการศึกษาปริญญาตรี

               สูงกว่าค่าเฉลี่ยในภาพรวมทุกองค์ประกอบ และค่าเฉลี่ยของกลุ่มระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ต่ำกว่า
               ค่าเฉลี่ยในภาพรวมทุกองค์ประกอบ

                                     นอกจากนี้ มีข้อสังเกตว่า ค่าเฉลี่ยด้านระบบการได้มาข้อมูลและการตรวจสอบ

               การทำงานของฝ่ายบริหาร และค่าเฉลี่ยด้านกระบวนการในการกลั่นกรองและตรวจสอบการทำหน้าที่
               ของฝ่ายบริหารและองค์กรอิสระของกลุ่มระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และกลุ่มระดับการศึกษาสูงกว่า

               ปริญญาตรี ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งสองด้านนี้ในภาพรวม ส่วนค่าเฉลี่ยด้านระบบและขั้นตอนการพิจารณาและ
               ตรวจสอบงบประมาณประจำปี ค่าเฉลี่ยด้านความเป็นอิสระและเอกเทศในการทำงานของรัฐสภา
               จากฝ่ายบริหาร และค่าเฉลี่ยด้านปัจจัยสนับสนุนการทำงานของสมาชิกรัฐสภาของกลุ่มระดับการศึกษา

               ต่ำกว่าปริญญาตรี ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งสองด้านนี้ในภาพรวม สรุปผลได้ดังตาราง 4-16















            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126