Page 124 - kpiebook63019
P. 124

119






                                     ประเด็นที่มีการให้ความคิดเห็นกันอย่างมาก คือ ความพอเพียง คุณสมบัติของ

               ผู้ช่วยดำเนินงาน ผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษาสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ส่วนใหญ่เห็นว่า
               มีจำนวนมากเกินกว่าภาระหน้าที่ที่ผู้รับผิดชอบจริงของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในด้านความเหมาะสม

               ต้องดูเป็นราย ๆ ไป ส่วนใหญ่จะแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวจากคนใกล้ชิดและญาติ เพราะพิจารณาว่าคนใกล้ชิดและ
               ญาติสามารถทำงานร่วมกันได้ดี สะดวก รวดเร็ว คล่องตัว และต่อเนื่อง


                                     ด้านปัจจัยสนับสนุนการทำงานของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ส่วนใหญ่เห็นว่า
               มีระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีพร้อม มีข้อมูลและงานวิจัยที่ดีจำนวนมาก แต่ยังไม่ตอบโจทย์สมาชิก
               เท่าที่ควร และสมาชิกไม่ได้ให้ความสำคัญ ส่วนสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาในการปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ

               ทำงานสนับสนุนคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ดี แต่ไม่สามารถให้ความเห็นได้ทุกเรื่อง

                     
 
 
 4.2.3.8  ข้อเสนอแนะด้านการตรวจสอบฝ่ายบริหาร


                     
 
 
 
     
   - เพื่อให้งานด้านการตรวจสอบฝ่ายบริหารมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้น
               ควรเปลี่ยนที่มาของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ไม่ควรถูกตั้งมาจากฝ่ายบริหารเพื่อให้สามารถคานอำนาจ
               กันได้ ต้องมีความหลากหลายในความรู้และประสบการณ์ มาจากกลุ่มผลประโยชน์ทุกกลุ่ม ในกรณีข้าราชการ

               ไม่ควรเลือกจากข้าราชการประจำ เพราะจะเกิดการขัดกันแห่งผลประโยชน์ เนื่องจากต้องรักษาตำแหน่ง
               ต้องการได้รับการเลื่อนขั้น ต้องปกป้องงานของตนเอง และไม่สามารถอุทิศเวลาทำงานในสภาได้เต็มศักยภาพ


                                      - ควรมีการเผยแพร่ ถ่ายทอดสด การทำงานของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
               เมื่อมีการประชุมสภาในวาระที่สำคัญให้ประชาชนได้รับทราบ และเป็นการกระตุ้นสมาชิกสภานิติบัญญัติ

               แห่งชาติแต่ละท่านให้ทำงานอย่างมุ่งมั่นตั้งใจ เพราะถูกจับตามองจากประชาชน นอกจากนั้น ควรสรุปประชุม
               ทั้งในระดับสภาและกรรมาธิการ โดยมีสาระที่สั้น กระชับ เข้าใจง่าย แถลงหลังการประชุมทุกครั้งผ่านสื่อ
               ให้ประชาชนได้รับทราบ


                                     - การเรียกบุคคลและเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาชี้แจง
               ให้ข้อมูลเพื่อให้ได้บุคคลระดับที่ตัดสินใจได้ มีความรู้ความเข้าใจจริงในเรื่องที่จะมาชี้แจง และได้รับความร่วมมือ
               อย่างดี ควรเรียกผ่านรัฐมนตรีที่กำกับดูแล นอกจากนั้นการจัดลำดับเวลาที่ถูกต้องเหมาะสมยังจำเป็น ผู้เข้ามา

               ชี้แจงจะได้ไม่ต้องรอเสียเวลานาน

                                     - ในการตรวจสอบการทำหน้าที่ประธานรัฐสภา ควรมีการกำหนดช่วงเวลาที่แน่ชัด

               เช่น ทุก 3 เดือน หรือทุก 6 เดือน เป็นต้น ให้สมาชิกประเมินการทำหน้าที่ของประธานสภา และในการนี้ควรมี
               การกำหนดวินัยนักการเมืองด้วย


                                     - ผู้ช่วยดำเนินงาน ผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษาของสมาชิกสภานิติบัญญัติ
               แห่งชาตินั้น ควรลดจำนวนลงเพราะทำงานเฉพาะในส่วนกลาง อัตราค่าจ้างของบุคคลดังกล่าวต้องสอดคล้อง

               กับคุณสมบัติจริง สำหรับบุคคลที่เหมาะสมในการเลือกเพื่อรับตำแหน่งดังกล่าว ทางสำนักงานเลขาธิการ
               วุฒิสภา ควรทำบัญชีรายชื่อบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ เช่นเดียวกับกระทรวงการคลัง








            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129