Page 119 - kpiebook63019
P. 119
114
4.2.3.3 ผลการประเมินรัฐสภา ด้านการตรวจสอบฝ่ายบริหาร จำแนกข้อมูลตาม
กลุ่มอาชีพ
หากพิจารณาผลการประเมินตามกลุ่มอาชีพ พบว่า ผลการดำเนินงานของ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้านการตรวจสอบฝ่ายบริหาร ในกลุ่มอาชีพนักการเมือง/อดีตนักการเมือง
มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.66, S.D. = 0.95) ในขณะที่
กลุ่มอาชีพข้าราชการ/อดีตข้าราชการ/องค์กรอิสระ และ กลุ่มอาชีพนักวิชาการ/ภาคประชาสังคม/สื่อมวลชน/
อาชีพอิสระอื่น ๆ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.50, S.D. = 0.86
และ ค่าเฉลี่ย = 2.50, S.D. = 0.93 ตามลำดับ) และเมื่อวิเคราะห์ตามองค์ประกอบย่อย พบว่าค่าเฉลี่ยของ
กลุ่มอาชีพนักการเมือง/อดีตนักการเมืองสูงกว่าค่าเฉลี่ยในภาพรวมของทุกองค์ประกอบ ยกเว้นองค์ประกอบ
ด้านระบบและขั้นตอนการพิจารณาและตรวจสอบงบประมาณประจำปีที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในภาพรวม
ส่วนค่าเฉลี่ยของกลุ่มอาชีพนักวิชาการ/ภาคประชาสังคม/สื่อมวลชน/อาชีพอิสระอื่น ๆ สูงกว่าค่าเฉลี่ย
ในภาพรวมของทุกองค์ประกอบ ยกเว้นองค์ประกอบด้านปัจจัยการสนับสนุนการทำงานของสมาชิกรัฐสภา
ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในภาพรวม
นอกจากนี้ มีข้อสังเกตว่าค่าเฉลี่ยด้านระบบการได้มาข้อมูลและการตรวจสอบ
การทำงานของฝ่ายบริหารของกลุ่มอาชีพข้าราชการ/อดีตข้าราชการ/องค์กรอิสระ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยด้านนี้
ในภาพรวม ค่าเฉลี่ยด้านระบบและขั้นตอนการพิจารณาและตรวจสอบงบประมาณประจำปีของกลุ่มอาชีพ
นักการเมือง/อดีตนักการเมือง ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยด้านนี้ในภาพรวม ค่าเฉลี่ยด้านกระบวนการในการกลั่นกรอง
และตรวจสอบการทำหน้าที่ของฝ่ายบริหารและองค์กรอิสระ และค่าเฉลี่ยด้านความเป็นอิสระและเอกเทศ
ในการทำงานของรัฐสภาจากฝ่ายบริหาร ของกลุ่มอาชีพข้าราชการ/อดีตข้าราชการ/องค์กรอิสระ ต่ำกว่า
ค่าเฉลี่ยทั้งสองด้านนี้ในภาพรวม และค่าเฉลี่ยด้านปัจจัยสนับสนุนการทำงานของสมาชิกรัฐสภาของ
กลุ่มอาชีพนักวิชาการ/ภาคประชาสังคม/สื่อมวลชน/อาชีพอิสระอื่น ๆ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งสองด้านนี้ในภาพรวม
สรุปผลได้ดังตาราง 4-14
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)