Page 123 - kpiebook63019
P. 123

118






                                     การกลั่นกรองและการตรวจสอบการทำหน้าที่ของฝ่ายบริหารและองค์กรอิสระ

               ยังไม่มีประสิทธิภาพและไม่มีประสิทธิผลมีอำนาจครอบงำ

                                     ระบบการตรวจสอบการทำหน้าที่ประธานรัฐสภานั้น เห็นว่าไม่มี ทั้งนี้ ความเป็น

               อิสระและเอกเทศในการทำงานของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจากฝ่ายบริหารนั้น เห็นว่ากระบวนการ
               ในการดำเนินงานมีความเป็นอิสระและเป็นระบบ แต่มีการกำหนดทิศทางการทำงานตามแนวทางของรัฐบาล

               อันก่อให้เกิดความไม่เป็นอิสระ

                                     ในส่วนปัจจัยสนับสนุนประเด็นที่ผู้เข้าร่วมประชุมสภากาแฟให้ความสนใจมากคือ
               ผู้ช่วยดำเนินงาน ผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษาประจำตัวสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในอัตราส่วน 1:5 นั้น

               มีจำนวนมากเกินไปกับขอบเขตงานที่ดำเนินการจริง บุคคลเหล่านี้เชื่อว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ใกล้ชิด และ
               เครือญาติ มีคุณสมบัติไม่เหมาะสม สำหรับปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานในด้านอื่น ๆ เช่น งานวิจัยและ
               งานวิชาการมีอยู่มาก มีระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ แต่ไม่ตอบโจทย์ที่ต้องการ ไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง

               ในส่วนการทำงานของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายเลขานุการมีคณะผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน
               ที่ให้ความเห็นได้ทันที ในการอภิปราย มีจำนวนมากแต่ก็ยังเห็นว่าไม่เพียงพอโดยเฉพาะการอภิปรายที่เกี่ยวกับ

               ด้านแรงงาน พาณิชย์และอุตสาหกรรม

                     
 
 
 4.2.3.7  ความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิต่อการดำเนินงานของรัฐสภา ด้านการตรวจสอบ

               ฝ่ายบริหาร

                     
 
 
 
     
   ความคิดเห็นในภาพรวมด้านการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารของสมาชิก

               สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒินั้น ส่วนใหญ่เห็นว่าการตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย
               และการตรวจสอบโดยกลไกของกรรมาธิการในการตรวจสอบฝ่ายบริหารทำได้น้อย เพราะสมาชิก
               สภานิติบัญญัติแห่งชาติถูกแต่งตั้งมาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ

               ยึดติดกรอบวัฒนธรรมระบบราชการ ไม่ชอบการมีส่วนร่วม ไม่ชอบรับฟังความคิดเห็น ไม่ชอบการคัดค้านแม้จะ
               มีเหตุผล เป็นสภาแบบไม่มีฝ่ายค้าน นอกจากนั้นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่มีความหลากหลาย ไม่ได้เป็น

               ตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ทั้งหมด แต่ได้นำคนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ข้าราชการซึ่งอยู่ในฝ่ายบริหารศาล
               เข้ามาเป็นกรรมาธิการในการทำกฎหมาย ทำให้เกิดการปกป้องงานของตนเอง ขาดการตรวจสอบจาก
               ประชาชน อย่างไรก็ตามผู้ทรงคุณวุฒิบางส่วนมองการทำงานของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นแบบ

               มืออาชีพมุ่งการจัดการและเชิงวิชาการมากกว่าเชิงการเมือง เห็นเป้าปฏิรูป ทำเพื่อประชาชน

                                     ในด้านระบบและขั้นตอนการพัฒนาและตรวจสอบงบประมาณประจำปี
               ผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่เห็นว่ามีการตรวจสอบบ้างแต่ไม่ได้มีความเข้มข้นนัก โดยฝ่ายบริหารสามารถกำหนดให้

               เป็นไปในทิศทางที่ต้องการได้

                                     กระบวนการในการกลั่นกรองและตรวจสอบการทำหน้าที่ของฝ่ายบริหารและ

               องค์กรอิสระนั้น ไม่เข้มงวดเรื่องความโปร่งใส แต่เข้มงวดเพื่อเลือกคนไปในทิศทางที่ฝ่ายบริหารต้องการ









            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128