Page 129 - kpiebook63019
P. 129
124
ตาราง 4-18 ค่าเฉลี่ยของผลการประเมินรัฐสภา ด้านความโปร่งใสและการเข้าถึงได้ จำแนกผู้ประเมินตาม
กลุ่มอาชีพ
ข้าราชการ/อดีตข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ นักวิชาการ/ภาคประชาสังคม/
นักการเมือง/อดีตนักการเมือง
องค์กรอิสระ สื่อมวลชน/อาชีพอิสระอื่น ๆ
องค์ประกอบย่อย
ค่าเฉลี่ย S.D. จำนวนผู้ตอบ ค่าเฉลี่ย S.D. จำนวนผู้ตอบ ค่าเฉลี่ย S.D. จำนวนผู้ตอบ
3.53 T1 3.05 1.32 21 0.88 32 2.96 0.97 48
3.31 T2 3.10 1.21 20 1.06 32 2.91 1.21 47
2.98 T3 2.61 0.94 17 0.99 30 2.86 0.93 40
2.90 T4 2.56 0.97 18 0.83 30 2.74 1.13 43
2.26 T5 2.55 1.22 17 1.18 29 1.95 1.17 43
2.10 T6 2.07 0.92 15 1.08 31 1.93 1.26 44
2.56 T7 2.53 1.50 19 1.15 27 2.32 1.33 37
2.23 T8 2.35 1.31 20 1.23 31 1.95 1.22 44
2.76 T 2.41 1.00 22 0.87 32 2.39 0.92 49
4.2.4.4 ผลการประเมินรัฐสภา ด้านความโปร่งใสและการเข้าถึงได้ของรัฐสภา จำแนกตาม
กลุ่มอายุ
หากพิจารณาผลการประเมินตามกลุ่มอายุ พบว่า ผลการดำเนินงานของ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้านความโปร่งใสและการเข้าถึงได้ ในกลุ่มอายุ 51-60 ปี มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด
โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.62, S.D. = 0.82) ในขณะที่ กลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี
มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.40, S.D. = 1.04)
นอกจากนี้ มีข้อสังเกตว่า ค่าเฉลี่ยด้านการเปิดเผยข้อมูลผลการประชุม
ของรัฐสภาและคณะกรรมาธิการต่อสื่อและสาธารณะ, ค่าเฉลี่ยด้านการมีเสรีภาพของสื่อในการเข้าถึงและ
นำเสนอข่าวเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภา, ค่าเฉลี่ยด้านการมีช่องทาง ความถี่
และการครอบคลุมของการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐสภาและกรรมาธิการ, ค่าเฉลี่ย
ด้านรูปแบบ วิธีการ และภาษาที่ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลของรัฐสภาและกรรมาธิการ และค่าเฉลี่ย
ด้านโอกาสในการมีส่วนร่วมเสนอข้อมูลและความคิดเห็นในการพัฒนาและแก้ไขกฎหมาย ของกลุ่มอายุ
มากกว่า 60 ปี ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งห้าด้านนี้ในภาพรวม ส่วนค่าเฉลี่ยด้านโอกาสและความสะดวกของ
ประชาชนในการเสนอความคิดเห็น ปัญหา ร้องทุกข์กับผู้แทนและกรรมาธิการโดยตรง และค่าเฉลี่ย
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)