Page 134 - kpiebook63019
P. 134

129






                                     ในด้านโอกาสและความสะดวกของประชาชนในการเสนอความคิดเห็น ปัญหา

               ร้องทุกข์กับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและคณะกรรมาธิการโดยตรงนั้น สภานิติบัญญัติแห่งชาติจัดให้มี
               “โครงการ สนช. สัญจร” ในจังหวัดต่าง ๆ แต่ยังมิใช่ช่องทางของการรับเรื่องราวร้องทุกข์ หากเป็นแต่เพียงเพื่อ

               การพบปะกับประชาชนเท่านั้น

                                     สำหรับโอกาสการมีส่วนร่วมในการเสนอข้อมูลและความคิดเห็นในการพัฒนาและ

               แก้ไขกฎหมาย  เห็นว่ากรณีดังกล่าวจะกระทำผ่านตัวแทนภาคประชาชน แต่ยังมีน้อย จะเห็นได้จาก
               มีกฎหมายเสนอโดยประชาชนผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพียง 1 ฉบับเท่านั้น จากจำนวนกฎหมาย
               432 ฉบับ (ประกาศใช้เป็นกฎหมาย) ได้แก่ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2562


                                     ส่วนความโปร่งใสและปลอดจากอิทธิพลของนักธุรกิจและกลุ่มผลประโยชน์ของ
               ธุรกิจ  เห็นว่าภาคธุรกิจยังคงมีอิทธิพลต่อการทำงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


                                     สุดท้าย การดึงดูดเยาวชนให้สนใจงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิ
               เห็นว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีโครงการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้แก่เยาวชน
               แต่การบริหารโครงการโดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ลักษณะ

               การบริหารงานมีลักษณะเป็นแบบราชการ  ซึ่งไม่สามารถดึงดูดเยาวชนให้มีความสนใจงานของสภานิติบัญญัติ
               แห่งชาติได้อย่างคุ้มค่า


                     
 
   4.2.4.8  ข้อเสนอแนะการดำเนินงานของรัฐสภา ด้านความโปร่งใสและการเข้าถึงได้
               ของรัฐสภา

                     
 
 
 
     
   - สภานิติบัญญัติแห่งชาติควรกำหนดนโยบายการเรียกคืนความเชื่อมั่นศรัทธาของ

               ประชาชนที่มีต่อรัฐสภา โดยพัฒนาปรับขยายระบบการรายงาน การตรวจสอบ และการลงโทษสมาชิกรัฐสภา
               กรณีมีพฤติกรรมผิดจริยธรรมหรือเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน


                                     - ต้องพัฒนาและสร้างเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐสภากับสื่อ ภาควิชาการ
               ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน องค์กรที่มิใช่แสวงหาผลกำไร ในการทำหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบ

               การดำเนินงาน ของสมาชิกรัฐสภา

                                     - สนับสนุนการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างสื่อรัฐสภากับสื่อท้องถิ่นหรือพื้นที่

               และสื่อจิตอาสา เพื่อช่วยทำหน้าที่กลั่นกรองเนื้อหา สาระและนำเสนอประเด็นหรือผลลัพธ์การดำเนินงานของ
               สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้แก่กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ รวมทั้งเพื่อทำหน้าที่ให้เป็นช่องทางนำเสนอ
               เรื่องราวร้องทุกข์จากพื้นที่สู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ


                                     - ควรปรับปรุงรูปแบบ เนื้อหาสาระ การนำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ
               สภานิติบัญญัติแห่งชาติและคณะกรรมาธิการ ให้มีความน่าสนใจและน่าติดตาม อีกทั้งแสดงความเชื่อมโยงกับ
               ประชาชน อาทิ รูปแบบนำเสนอ ทำเป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ กราฟ แผนภูมิ ไดอะแกรม แผนที่ อินโฟกราฟฟิค

               หรือจัดทำเป็นภาพเคลื่อนไหว (animation) เป็นต้น







            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139