Page 37 - kpiebook63012
P. 37
37
พรรคที่มีคะแนนสูงสุดคือ พรรคสีฟ้า (a) เมื่อพรรคสีฟ้าได้รับการจัดสรรที่นั่ง คะแนนที่พรรค
ได้รับจะถูกหารด้วย 2 ที่นั่งที่สองจะถูกจัดให้แก่พรรคที่มีคะแนนคงเหลือสูงสุดก็ยังเป็นของ
พรรคสีฟ้า (b) เนื่องจาก 28,500 สูงกว่าคะแนนของพรรคที่เหลือทั้งหมด คะแนนของพรรค
จะถูกหารอีกด้วย 3 ที่นั่งที่สามตกเป็นของพรรคสีขาว (c) หลังจากนั้นคะแนนของพรรคสีขาว
จะถูกหารด้วย 2 ที่นั่งที่สี่จึงเป็นของพรรคสีแดง (d) เพราะมีคะแนนคงเหลือสูงสุด คะแนนของ
พรรคสีแดงจะถูกหารด้วย 2 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนที่แต่ละพรรคคงเหลือปรากฏว่าพรรคสีฟ้า
มีคะแนนสูงสุด คือ 19,000 ที่นั่งที่ห้าจึงเป็นของพรรคสีฟ้า (e) และคะแนนของพรรคสีฟ้า
จะถูกหารด้วย 4 ทำาเช่นนี้เรื่อยไปจนจัดสรรที่นั่งได้ครบ 12 ที่นั่งผลการจัดสรรสุดท้ายก็คือ
พรรคสีฟ้าชนะเลือกตั้ง 6 ที่นั่ง พรรคสีขาว สีแดง และสีเขียวได้ 3, 2 และ 1 ที่นั่งตามลำาดับ
ประเทศที่ใช้ระบบนี้ เช่น อาร์เจนตินา บราซิล สวิตเซอร์แลนด์
นอกจากวิธีหารแบบด๊องต์แล้ว ยังมีวิธีจัดสรรที่นั่งด้วยการหารด้วยวิธีอื่น เช่น หารด้วยเลข
1, 3, 5, 7, 9 ……. ซึ่งเรียกว่าวิธี “Pure Sainte-Lague” หรือหารด้วย 1, 4, 3, 5, 7, 9
ที่เรียกว่า “Modified Sainte-Lague” วิธีคิดแบบสองระบบหลังนี้จะช่วยให้พรรคการเมือง
ขนาดเล็กมีโอกาสได้รับการจัดสรรที่นั่งมากขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่งทำาให้ระบบมีการ “แบ่งสรร
ปันส่วน” กันมากขึ้น
สูตรค่าเฉลี่ยสูงสุด (The Highest Average Methods)
D’Hondt Formula : (สำาหรับเขตเลือกตั้งที่มีตัวแทน 12 คน/ 6 พรรคการเมือง)
พรรค
หารด้วย ฟ้า ขาว แดง เขียว เหลือง ชมพู รวม
57,000 26,000 25,950 12,000 6,010 3,050 130,010
1 57000 a 26000 c 25950 d 12000 i 6010 3050
2 28500 b 13000 g 12975 h 6000
3 19000 e 8667 l 8650
4 14259 f 6500
5 11400 j
6 9500 k
7 8143
ชนะที่นั่ง 6 3 2 1 0 0 12
ที่มา สิริพรรณ นกสวน, 2558, น. 110