Page 38 - kpiebook63012
P. 38

38    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา








                            สูตรเหลือเศษสูงสุดหรือโควตา (Quota System) เริ่มด้วยการนับผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

                            (130,010) แล้วนำามาหารดด้วยจำานวนตัวแทนที่เขตเลือกตั้งนั้นพึงมี (12) ตัวเลขที่ได้คือโควตา
                            (10834) หรือจำานวนคะแนนเสียงที่พรรคหนึ่ง ๆ จะต้องได้รับจากการลงคะแนนเพื่อที่จะมี

                            ตัวแทนได้ 1 คน เมื่อนำาโควตาไปหารคะแนนเสียงที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคได้รับเลือกตั้ง
                            ก็จะได้จำานวนผู้แทนของพรรคนั้นในรอบแรก โดยมีเศษจากการหารเหลืออยู่ พรรคที่มีเศษ

                            เหลือสูงสุดจะได้รับการจัดสรรที่นั่งนั้นเรียงตามลำาดับเศษมากที่สุดเพื่อให้ได้ตัวแทนครบตาม
                            จำานวนเขตที่เลือกตั้งนั้นจะมีได้ จากตารางข้างล่างพบว่าพรรคสีเหลืองมีเศษสูงสุด รองลงมา

                            คือ 0.4 วิธีคิดแบบนี้เรียกว่าระบบแฮร์ (Hare Quota) ใช้ในประเทศเดนมาร์ก โคลัมเบีย และ
                            ไทย เป็นต้น แต่ถ้าเราอยากให้มีการแบ่งสรรที่นั่งให้พรรคการเมืองขนาดเล็กมากขึ้น เราอาจใช้

                            ระบบดรูป โควตา (Droop Quota) โดยการนำาเอาคะแนนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหารด้วยจำานวน
                            ตัวแทนที่เขตเลือกตั้งพึงมี บวก 1 (12+1 = 13) ซึ่งใช้ในประเทศแอฟริกาใต้ กรีซ เป็นต้น





                                  สูตรเหลือเศษสูงสุด (Largest Remainders Methods)


                      Hare Quota : คะแนนเสียงทั้งหมด / จำานวนตัวแทนในเขตนั้น (130010/12 = 10834)


                พรรค      คะแนนที่พรรคได้รับ/โควตา    จัดสรรที่นั่งรอบแรก  ที่นั่งที่เหลือเศษ  ที่นั่งทั้งหมด
                 ฟ้า         57000/10834 = 5.260             5                 0               5

                 ขาว         26000/10834 = 2.400             2             1 (เศษ 0.4)         3
                 แดง         25950/10834 = 2.395             2                 0               2

                เขียว        12000/10834 = 1.110             1                 0               1
                เหลือง       6010/10834 = 0.550              0             1 (เศษ 0.55)        1

                 ชมพู        3050/10834 = 0.280              0                 0               0
               ทั้งหมด            130010                     10                2              12


                                           ที่มา สิริพรรณ นกสวน, 2558, น.111





                            ข้อพึงสังเกตคือ สูตรการคำานวณแต่ละแบบอาจให้ผลลัพธ์ในการเลือกตั้งแตกต่างกัน
                            จากตัวอย่างข้างต้น สูตรการคำานวณแบบเหลือเศษสูงสุดระบบแฮร์ทำาให้พรรคสีเหลืองได้

                            1 ที่นั่ง ในขณะที่สูตรค่าเฉลี่ยสูงสุดแบบด๊องต์ ตัวแทนจากพรรคสีเหลืองจะไม่ได้รับการเลือกตั้ง
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43