Page 39 - kpiebook63012
P. 39
39
4.4) เกณฑ์ขั้นตำ่า (Threshold) คือ การกำาหนด “ด่าน” ว่าการที่พรรคการเมืองหนึ่งจะมีสิทธิได้
โควตาในการจัดสรรที่นั่ง พรรคการเมืองนั้นจะต้องมีคะแนนเสียงตำ่าสุดอยู่ที่เท่าใด การกำาหนด
เกณฑ์ขั้นตำ่าเป็นเสมือนการให้โบนัสแก่พรรคการเมืองขนาดใหญ่ โดยการกำาจัดพรรคการเมือง
ขนาดเล็กมากทิ้งไปเพราะเป็นการกำาหนดกติกาว่าถ้าพรรคไม่สามารถผ่านด่านคะแนนขั้นตำ่านี้ได้
ก็จะไม่สามารถมีผู้แทนได้ การกำาหนดเกณฑ์ขั้นตำ่าในระดับเขต บางประเทศกำาหนดไว้ใน
ระดับชาติ ขนาดของเกณฑ์ขั้นตำ่าแตกต่างกันไปตั้งแต่ 1%, 5%, 10% หรือมากกว่านั้น ข้อสังเกต
คือการกำาหนดเกณฑ์ขั้นตำ่าเป็นการประกาศว่าพรรคการเมืองขนาดเล็กไม่เป็นที่พึงประสงค์ของ
ระบบพรรคการเมือง แต่ผลที่ตามมาคืออาจทำาให้เกิด “คะแนนสูญเปล่า” (Wasted votes)
จำานวนมาก ในประเทศรัสเซียปี ค.ศ. 1995 เกิดคะแนนสูญเปล่าถึง 51% สำาหรับประเทศไทย
ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 เกิดคะแนนสูญเปล่าที่ประชาชนเลือกพรรคการเมืองขนาดเล็ก
ที่ไม่ผ่านด่าน 5% สูงถึง 14.31%
4.5) การจัดลำาดับผู้สมัครรับเลือกตั้ง (Preference for Candidates) ระบบเลือกตั้งแบบเสียง
ข้างมากเป็นการเลือกผู้สมัครแต่ละคน แต่ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนเป็นการเลือกผู้สมัครจาก
บัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองถ้าหากเรามองว่าการแข่งขันทางการเมืองทุกวันนี้เป็นการแข่งขัน
ระหว่างพรรคการเมืองแล้ว ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนนี้จะเป็นภาพสะท้อนที่ดีที่สุด โดยทั่วไป
การจัดสำาดับผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นเอกสิทธิ์ของพรรคการเมืองที่เรียกว่า “บัญชีรายชื่อแบบปิด”
(Closed list) แต่มีบางประเทศที่ให้โอกาสประชาชนแสดงเจตจำานงในการจัดลำาดับผู้สมัครเอง
ได้ที่เรียกว่า “บัญชีรายชื่อแบบปิด” (opened list) ซึ่งพบได้ในประเทศฟินแลนด์ เบลเยียม
และสวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น
ระบบบัญชีรายชื่อของฟินแลนด์แตกต่างไปจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนทั่วไป กล่าวคือ ผู้ใช้สิทธิ
เลือกตั้งเลือกผู้สมัครหนึ่งคน จากบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอมา ในการนับคะแนนว่าพรรคหนึ่งจะได้รับ
การจัดสรรกี่ที่นั่งขึ้นอยู่กับสัดส่วนคะแนนที่พรรคได้ทั้งหมด (ซึ่งคือผลรวมคะแนนผู้สมัครในบัญชีพรรค) เมื่อ
เปรียบเทียบกับคะแนนพรรคอื่นในเขตนั้น ในขณะที่ผู้สมัครแต่ละคนจะได้รับเลือกตั้งหรือไม่ขึ้นอยู่กับคะแนน
ที่แต่ละคนได้รับ ตัวอย่างเช่น ถ้าพรรคการเมืองหนึ่งมีสิทธิได้ 3 ที่นั่ง ผู้สมัครบัญชีรายชื่อของพรรคที่ได้รับ
คะแนนสูงสุด 3 คนแรกจะได้รับเลือกตั้ง ไม่ว่าผู้สมัครทั้ง 3 คนนี้จะถูกจัดอยู่ในลำาดับใดของบัญชีรายชื่อ ระบบ
บัญชีรายชื่อเช่นนี้จึงเป็นแบบ “กึ่งเปิด” ที่ให้สิทธิประชาชนเลือกผู้สมัครที่ตนชื่นชอบโดยตรง ไม่ใช่เลือก
ได้แต่พรรคการเมือง ในขณะที่ข้อเสียที่เด่นชัดก็คือผู้สมัครของพรรคต้องแข่งขันกันเอง ส่งผลให้เกิดปัญหา
ความแตกแยกในพรรค (Intra Party Conflict) ได้ง่าย