Page 41 - kpiebook63012
P. 41

41








                          อาจกล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ก่อให้เกิดระบบพรรคการเมือง

                  แบบ 2 พรรค หรือหลายพรรค แต่ระบบเลือกตั้งสามารถก่อให้เกิดการปรับตัวในระบบพรรคการเมืองและ
                  การจัดการกลุ่มในสังคมการเมืองที่แตกต่างไปจากเดิมได้ โดยทั่วไประบบเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากธรรมดา

                  ในเขตเลือกตั้งที่มีตัวแทนได้คนเดียว (Plurality-Single Member Districts) จะไม่เอื้อให้พรรคการเมืองเล็ก ๆ
                  ก่อตั้งขึ้นมาใหม่ เพราะพรรคที่จะชนะเลือกตั้งจะต้องได้คะแนนเสียงค่อนข้างมาก ทำาให้พรรคขนาดเล็กแข่งขัน

                  ได้ยาก ในกรณีเช่นนี้อาจกลายเป็นแรงจูงใจให้พรรคการเมืองขนาดเล็กรวมตัวกันเพื่อขยายฐานเสียงในการ
                  แข่งขัน ในขณะที่ระบบเลือกตั้งที่เขตเลือกตั้งหนึ่งมีตัวแทนได้หลายคน พรรคเล็ก ๆ จะสามารถชนะการเลือกตั้ง

                  บางส่วนได้ด้วยคะแนนเสียงไม่ต้องมาก จึงสามารถดำารงอยู่ได้โดยไม่ต้องกระตือรือร้นขยับขยาย กล่าวอย่างชัดเจน
                  ก็คือระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน หรือแบบที่ใช้เขตเลือกตั้งขนาดใหญ่โดยไม่ได้กำาหนดเกณฑ์ขั้นตำ่าจะทำาให้ระบบ

                  การเมืองมี “จำานวนพรรคการเมืองที่มีนัยสำาคัญ” (Effective Number of Parties) มากขึ้น


                          2)  กติกาการเลือกตั้งส่งผลต่อองค์กรพรรค และการจัดทำายุทธศาสตร์ (Strategies) ของพรรคการเมือง
                  อิทธิพลของระบบเลือกตั้งประการนี้ที่มาจากฐานคติที่ว่า ในระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนที่เขตเลือกตั้งมีขนาดใหญ่

                  พรรคมีแนวโน้มที่จะต้องแสดงจุดยืนเชิงอุดมการณ์ หรือนโยบายที่ชัดเจนกว่าในระบบเลือกตั้งที่เขตเลือกตั้ง
                  มีขนาดเล็ก เช่นนี้จะกระตุ้นให้พรรคต้องสร้างองค์กรที่มีความเข้มแข็ง แต่หากผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งสามารถเลือก

                  ผู้สมัครที่แข่งขันกันเองภายในพรรคเดียวกันได้ อาจส่งผลให้ระบบพรรคการเมืองอ่อนแอได้ เพราะผู้สมัครจาก
                  พรรคเดียวกันต้องแข่งขันกันเอง ในระบบเขตเลือกตั้งมีขนาดเล็กแบบหนึ่งเขตหนึ่งคน ความจำาเป็นที่พรรค

                  จะสร้างองค์กรให้มีความเข้มแข็งมีน้อยกว่าในระบบบัญชีรายชื่อ เพราะเขตเลือกตั้งขนาดเล็กเป็นระบบที่เน้น
                  คุณสมบัติเฉพาะตนของผู้สมัคร (Candidate Centered)


                          นักรัฐศาสตร์โดยมากให้ความเห็นสนับสนุนระบบเลือกตั้งที่เอื้อให้พรรคการเมืองพัฒนาอุดมการณ์
                  ความคิด และนโยบายที่ตอบสนองรองรับผลประโยชน์ของประชาชนอย่างกว้างขวาง มากกว่าระบบเลือกตั้งที่

                  ส่งเสริมให้พรรคเน้นแสวงหาฐานเสียงท้องถิ่น หรือกลุ่มแคบ ๆ เช่น กลุ่มศาสนา เชื้อชาติ วัฒนธรรม นอกจากนี้

                  พรรคการเมืองควรสามารถเป็นตัวแทนที่สะท้อนความคิดเห็นที่เป็นภาพรวมของชาติมากกว่าของภูมิภาค หรือ
                  กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง


                          3) อิทธิพลของระบบเลือกตั้งต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงของประชาชนเหตุผลหรือพฤติกรรมใน
                  การตัดสินใจเลือกตั้งที่น่าสนใจคือ การตัดสินใจเลือกระหว่างผู้สมัคร/พรรคการเมืองที่ตนเองชื่นชอบกับผู้สมัคร/

                  พรรคการเมืองที่มีโอกาสชนะเลือกตั้ง ตัวอย่างเช่น ในระบบเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากธรรมดาเขตเดียวคนเดียว

                  ผู้เลือกตั้งชื่นชอบนาง ก. มากกว่านาย ข. และนาย ข. มากกว่านาย ค. เมื่อเห็นว่านาง ก. มีคะแนนนิยมตำ่าและ
                  โอกาสชนะ (Viability) การเลือกตั้งน้อย จะเปลี่ยนใจไปลงคะแนนให้นาย ข. ซึ่งมีแนวโน้มที่จะชนะมากกว่า
                  หรือไม่ หากเลือกนาง ก. แสดงว่าเลือกจากความชอบจริง ๆ แต่หากเลือกนาย ข.จะเป็นการเลือกด้วยกลยุทธ์

                  (strategic/tactical voting) ที่ไม่ต้องการให้คะแนนเสียงของตนสูญเปล่า (wasted vote) การตัดสินใจทางใด
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46