Page 45 - kpiebook63012
P. 45
45
โดยทั้งนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พ.ศ. 2540 หรือที่เรียกกันว่า “รัฐธรรมนูญฉบับ
ประชาชน” (ปุรวิชญ์ วัฒนสุข, 2554, น. 41) เป็นจุดเปลี่ยนสำาคัญของระบบการเลือกตั้งไทย โดยจุดเริ่มต้นของ
การร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาไม่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชนโดยทั่วไป กล่าวคือ เป็นระบบ
การเมืองที่คัดเลือกคนเข้าสู่สภาโดยใช้เงินเป็นใหญ่ในการเลือกตั้งและในพรรคการเมือง ภายหลังการเลือกตั้ง
หลายต่อหลายครั้งจึงทำาให้เกิดรัฐบาลรูปแบบผสม ไร้เสถียรภาพ นายกรัฐมนตรีไม่สามารถแสดงภาวะผู้นำาได้
เพราะต้องตกอยู่ภายใต้พรรคการเมืองของตนและพรรคร่วมรัฐบาล ดังนั้น รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงได้มีการเสนอ
ให้เกิดการคานอำานาจพรรคการเมือง โดยเฉพาะอำานาจในการตรวจสอบและถอดถอน พร้อมกับเสนอให้สมาชิก
มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากระบบเขตเดียว จำานวน 400 คน และสมาชิกมาจากการเลือกตั้งระบบสัดส่วน
ตามบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง โดยใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง จำานวน 100 คน
แต่อย่างไรก็ตาม ระบบการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ก็เกิดปัญหาสำาคัญ คือ เป็นระบบ
เลือกตั้งที่เอื้อให้พรรคการเมืองใหญ่ได้จำานวน ส.ส.มากกว่าที่ควรจะเป็น ในขณะพรรคการเมืองขนาดเล็กได้
จำานวน ส.ส. น้อยกว่าที่ควรจะได้ ทำาให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างคะแนนเสียงกับที่นั่งในสภา มาจากหลักเกณฑ์
ที่รัฐธรรมนูญกำาหนดให้พรรคการเมืองที่ได้คะแนนในระบบบัญชีรายชื่อไม่ถึงร้อยละ 5 จะไม่ได้ ส.ส.แบบบัญชี
รายชื่อเลย รวมทั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาเป็นระบบการเลือกตั้งที่พรรคขนาดเล็กและขนาดกลางเสียเปรียบ
โดยการที่ผู้ชนะไม่จำาเป็นต้องได้รับเสียงข้างมากในเขตเลือกตั้งอย่างแท้จริง จึงทำาให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่
สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ เกิดฝ่ายบริหารที่เข้มแข็ง และทำาให้ฝ่ายค้านอ่อนแอขาดการตรวจสอบถ่วงดุล
การทำางาน ซึ่งนำาไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเมืองในเวลาต่อมา
หลังจากการเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองในช่วง พ.ศ. 2549 นำามาสู่เหตุการณ์รัฐประหาร และการร่าง
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ขึ้นมา โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเจตนารมณ์ที่สำาคัญประการหนึ่งคือ การลดการผูกขาด
อำานาจรัฐและขจัดการใช้อำานาจอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งการปรับปรุงการเลือกตั้งก็เป็นมาตราการที่จะทำาให้เกิด
การบรรลุเจตนารมณ์ในข้อนี้ ภายใต้หลักการที่สำาคัญว่า “ให้คนดีมีความสามารถเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และเป็นอิสระจากการครอบงำาของพรรคการเมือง เพื่อทำาหน้าที่ผู้แทนประชาชนอย่างเต็มที่” โดยการเสนอให้ลด
จำานวน ส.ส. ลงเหลือ 400 คน และให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากเขตการเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรในเขต
เลือกตั้งที่ใหญ่ขึ้น เพื่อให้คนดีมีความสามารถแข่งขันกับคนที่ใช้เงินได้ จำานวน 320 คน โดยให้แต่ละเขตเลือกตั้ง
สามารถมีสมาชิกผู้แทนราษฎรได้เขตละ 3 คน นอกจากนี้ยังจะทำาให้ผู้เลือกตั้งสามารถใช้สิทธิเลือกบุคคลที่
เหมาะสมได้หลายคนซึ่งแตกต่างจากเดิมที่เลือกได้เพียงคนเดียว นอกจากนี้ รูปแบบนี้จะทำาให้คะแนนเสียง
ทุกเสียงของประชาชนมีความหมาย เพราะสามารถเฉลี่ยคะแนนไปตามผู้สมัครทั้ง 3 คนในแต่ละเขตเลือกตั้งได้
นอกจากนี้ ได้ปรับปรุงระบบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อมาเป็นระบบการเลือกสัดส่วนโดยมี
จำานวน 80 คน มาจากเป็นการแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัด ไม่ให้มีการกระจุกตัวสภาผู้แทนราษฎรแต่
ส่วนกลาง โดยกระจายตามกลุ่มจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งจะทำาให้บุคคลที่ประชาชนในกลุ่มจังหวัดนั้นรู้จักและให้
การยอมรับ ทั้งนี้ การจัดกลุ่มจังหวัดให้เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกันและในกลุ่มจังหวัดต้องมีจำานวนราษฎร
ใกล้เคียงกันเพื่อให้แต่ละกลุ่มจังหวัดมีสัดส่วนจำานวนราษฎรต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน
ใกล้เคียงกัน รวมถึงการยกเลิกสัดส่วนร้อยละ 5 เพื่อให้พรรคเล็กที่มีที่นั่งในสภาเกิดความหลากหลายในความคิด
ทางการเมือง (ปุรวิชญ์ วัฒนสุข, 2554)