Page 49 - kpiebook63012
P. 49
49
2.2 กำรสื่อสำรและกำรตลำดทำงกำรเมือง
Waren K.Agree, Phillip H. Ault and Edwin Emery (อ้างถึงใน พฤทธิสาณ ชุมพล, 2540, น. 181)
ได้นิยามว่า การสื่อสารทางการเมือง เป็นกระบวนการทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนข้อเท็จจริง
ทัศนะ และความคิดเห็นตลอดจนประสบการณ์ต่าง ๆ ในทางการเมืองระหว่างบุคคล การสื่อสารทางการเมือง
นับเป็นกระบวนการพิเศษที่ก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของสังคมการเมืองและทำาให้บุคคลสามารถ
ดำารงชีวิตอยู่ในสังคมการเมือง โดยจากความหมายดังกล่าวประเด็นสำาคัญที่ควรพิจารณา คือ การสื่อสารทาง
การเมืองจะต้อง 1) เกี่ยวข้องกับบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปหรือมากกว่านั้น 2) เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
ทางการเมือง และ 3) เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในทางการเมือง
ทั้งนี้ สมบัติ จันทรวงศ์ ได้กล่าวถึงรูปแบบการหาเสียงไว้ 3 ประเภทคือ (2530 อ้างถึงใน สุรชัย
ตั้งมกรา, 2556, น.19)
1) รูปแบบการหาเสียงที่เปิดเผยหรือเป็นทางการ
1.1 การใช้สิ่งพิมพ์และการประชาสัมพันธ์ เป็นการรณรงค์หาเสียงอย่างเป็นทางการเพื่อประชาสัมพันธ์
ให้ผู้ลงคะแนนในเขตเลือกตั้งรู้จักกับผู้สมัคร อาจทำาเป็นป้ายคัทเอาท์บอกชื่อ ผู้สมัคร
พรรคการเมืองต้นสังกัต พร้อมคำาขวัญเละรูปภาพของผู้สมัคร นอกจากนั้นก็มีโปสเตอร์หรือใบปลิว
ขนาดเล็กเพื่อแนะนำาตัวผู้สมัคร ซึ่งอาจจะออกมาเป็นระยะ ๆ ในช่วงระหว่างที่มีการหาเสียง
หรืออาจจะออกมาแก้ข่าวที่ถูกโจมตี นอกจากนี้ ก็มีการใช้รถที่มีโปสเตอร์หรือแผ่นป้ายโฆษณา
ชื่อ รูป หมายเลขประจำาตัวของผู้สมัครให้วิ่งกระจายเสียงไปตามชุมชนต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชน
ทราบข่าวสารของผู้สมัครในกรณีที่ผู้สมัครไม่ได้ออกไปสัมผัสกับประชาชนโดยตรง
1.2 การปราศรัยหาเสียงมีหลายแบบคือ อาจเป็นการปราศรัยที่ทำาไปอย่างมีพิธีการ มีการจัดเวที
ปราศรัยที่มีการนัดหมายและจัดเตรียมไว้ล่วงหน้าหรืออาจเป็นแบบที่ผู้สมัครได้รับเชิญให้ขึ้นเวที
ปรากฏตัวและกล่าวคำาปราศรัยในงานพิธีต่าง ๆ ที่หัวคะแนนหาช่องทางให้ เช่น งานบวชนาค
งานศพ งานวันเกิดหรืออาจมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดที่แลดูเป็นกลางทาง
การเมือง เช่น การจัดให้มีการอภิปรายระหว่างผู้สมัครต่าง ๆ แถลงนโยบายหรือให้ประชาชน
ผู้เข้าฟังได้ซักถามข้อข้องใจได้ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การปราศรัยเพื่อหาเสียงโดยตรง อาจจะเป็น
วิธีหลักในบางจังหวัด เช่น จังหวัดทางภาคใต้หรือในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประชาชน
มีความตื่นตัวทางการเมืองสูง แต่ในบางพื้นที่อาจเป็นผลพลอยได้ของการประชาสัมพันธ์
ตัวผู้สมัครให้เป็นที่รู้จักเท่านั้น