Page 52 - kpiebook63012
P. 52

52    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา







             2.3 ระบบหัวคะแนน



                      สุรชัย ตั้งมกรา (2556, น.13-18) ได้รวบรวมลักษณะหัวคะแนนที่มีความสำาคัญต่อการหาเสียง

             อย่างมากในการเลือกตั้งทุกระดับ ความสำาเร็จส่วนหนึ่งของผู้สมัครมาจากหัวคะแนนที่มีประสิทธิภาพ

             แม้คนทั่วไปจะมีทัศนคติด้านลบต่อหัวคะแนนว่าเป็นบุคคลที่ช่วยหาเสียงแก่ผู้สมัครโดยใช้วิธีผิดกฎหมายต่าง ๆ
             กลโกง หรือให้เงินแก่ผู้ลงคะแนนให้เลือกผู้สมัครที่เขาเป็นหัวคะแนนให้ ทั่วไปแล้วหัวคะแนนมักหวังค่าตอบแทน
             จากผู้สมัครหรือยักยอกเงินดังกล่าวไว้ส่วนหนึ่ง


                      ส่วนผู้ที่ช่วยผู้สมัครหาเสียงโดยไม่หวังค่าตอบแทน เรียกว่า “ผู้สนับสนุน” มากกว่า “หัวคะแนน”
             ดังนั้น “ผู้สนับสนุน” หรือ “หัวคะแนน” คือบุคคลที่สามารถหาคะแนนให้กับผู้สมัครโดยไม่คำานึงถึงว่าจะใช้

             วิธีการอย่างไรมาแสวงหาความสนับสนุนให้กับผู้สมัครของตน หัวคะแนนจึงเป็นองค์ประกอบที่สำาคัญ

             ในกระบวนการรณรงค์หาเสียงของผู้สมัคร ในการประสานติดต่อและกระตุ้นให้ผู้ลงคะแนนเห็นความสำาคัญ
             ของผู้สมัครที่เขาสนับสนุน


                      ในเขตเลือกตั้งขนาดใหญ่หรือในพื้นที่ทุรกันดารคมนาคมไม่สะดวกเช่น ภูมิประเทศเป็นเทือกเขา
             สลับซับซ้อน ประชาชนอยู่ห่างไกลและกระจายตัว ทำาให้การหาเสียงเป็นไปด้วยความยากลำาบาก หรือในพื้นที่

             ที่ประชาชนขาดความรู้และความสนใจต่อกิจกรรมทางการเมือง ทั้งหมดทำาให้ผู้สมัครต้องอาศัยหัวคะแนนเป็น
             ผู้กระตุ้น ผู้ลงคะแนนเห็นความสำาคัญและรวบรวมคะแนนเสียงที่กระจัดกระจายให้รวมกันสนับสนุน ฉะนั้น

             หัวคะแนนเปรียบเสมือนตัวกลางระหว่างผู้ลงคะแนนกับผู้สมัคร

                      หัวคะแนนต้องเป็นผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น มีญาติพี่น้องและมิตรสหายจำานวนมาก เป็นที่นับถือของ

             ประชาชน ผู้สมัครจึงต้องใช้หัวคะแนนเพราะเขามีความสัมพันธ์ส่วนตัวใกล้ชิดหรือเป็นผู้นำาของชุมชนที่ชาวบ้าน
             ยอมรับนับถือ หัวคะแนนที่ประสบความสำาเร็จในการชักจูงให้ชาวบ้านลงคะแนนแก่ผู้สมัคร มักใช้ความสัมพันธ์

             และการยอมรับที่ชาวบ้านมีให้กับเขาเป็นเครื่องมือสำาคัญเพื่อโน้มน้าวใจให้ชาวบ้านคล้อยตาม แต่ถ้าความสัมพันธ์
             ระหว่างชาวบ้านกับหัวคะแนนมีไม่มากพอ หัวคะแนนอาจจะต้องอาศัยปัจจัยอื่น เช่น เงิน เพื่อโน้มน้าวจิตใจ

             ชาวบ้านให้เลือกผู้สมัคร บางกรณี หัวคะแนนอาจจะทำาหน้าที่เป็นเพียงผู้ประสานระหว่าง “การซื้อ-ขายคะแนน
             เสียง” ของผู้สมัครกับชาวบ้านเท่านั้น (ฐิตินันทนา เตติวงษ์. (..., 2553, ...) อ้างถึงใน สุรชัย ตั้งมกรา, 2556 น.14)


                      เพิ่มพงษ์ ชวลิตและศรีสมภพ จิตภิรมณ์ศรี (อ้างถึงใน สุรชัย ตั้งมกรา, 2556) จากการศึกษาเรื่อง

             หาคะแนนอย่างไรให้เป็น ส.ส. ได้แบ่งประเภทของหัวคะแนนไว้ดังนี้

                      1) การแบ่งประเภทของหัวคะแนนโดยยึดหลักความสัมพันธ์กับผู้สมัคร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่


                         ประเภทที่หนึ่ง    กลุ่มหัวคะแนนที่เป็นเครือญาติของผู้สมัคร – เป็นกลุ่มบุคคลที่ใกล้ชิดและ
                                          ช่วยเหลือผู้สมัครในการหาเสียงได้มากที่สุด ความใกล้ชิดส่งผลให้หัวคะแนน

                                          กลุ่มนี้มีความซื่อสัตย์ต่อผู้สมัครมากที่สุด
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57