Page 57 - kpiebook63012
P. 57

57







                  2.4 งำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง



                          ในประเด็นเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งจากการศึกษาของ ปุรวิชญ์ วัฒนสุข (2554) โดยศึกษา

                  เรื่อง การปฏิรูประบบการเลือกตั้งกับการเปลี่ยนแปลงระบบพรรคการเมืองและการเป็นตัวแทนในรัฐสภา:

                  ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างไทยกับนิวซีแลนด์ พบว่า การที่นิวซีแลนด์เปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งจากระบบ
                  เลือกตั้งแบบเสียงข้างมากธรรมดา (Plurality System) เป็นระบบเลือกตั้งแบบผสมสัดส่วน (Mixed-Member
                  Proportion) ส่งผลต่อให้ระบบพรรคการเมืองที่เคยเป็นแบบสองพรรคกลายเป็นระบบหลายพรรคที่มีพรรคเด่น

                  สำาหรับประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนจากระบบเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากธรรมดาไปเป็นระบบเลือกตั้งแบบคู่ขนาน

                  (Parallel Voting) ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนระบบพรรคการเมืองจากระบบหลายพรรคไม่มีพรรคเด่น ไปเป็นระบบ
                  หลายพรรคมีพรรคเด่นเช่นเดียวกับนิวซีแลนด์ อย่างไรก็ตาม ระบบการเลือกตั้งไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยเดียวที่ส่งผล
                  ต่อการเปลี่ยนแปลงระบบพรรคการเมือง ยังต้องรวมถึงพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

                  อีกด้วย นอกจากนี้ ในการปฏิรูประบบการเลือกตั้งของนิวซีแลนด์ยังทำาให้ผู้หญิงและชนกลุ่มน้อย มีสัดส่วน

                  ในสภาเพิ่มมากขึ้น แต่สำาหรับประเทศไทยไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเรื่องดังกล่าว

                          ในด้านการนำาเสนอนโยบายของพรรคการเมือง James Ockey (2003, ... อ้างถึงใน อภิชาต สถิตนิรามัย,

                  2556) ศึกษาผลกระทบของรัฐธรรมนูญ 2540 ต่อการเปลี่ยนแปลงสถาบันทางการเมือง พรรคการเมือง
                  พฤติกรรมของการรวมกลุ่มในพรรคการเมือง การเลือกตั้ง การซื้อเสียง โดยพบว่าการซื้อเสียงยังคงเกิดขึ้น

                  รวมถึงการรวมกลุ่มมุ้งต่าง ๆ เพื่อจัดตั้งรัฐบาล ยังคงมีระบบอุปถัมภ์ระหว่างนักการเมืองที่มีอิทธิพลและ
                  อ่อนอาวุโส แต่อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งครั้งแรก (พ.ศ. 2544) ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 พรรคไทยรักไทย

                  ได้พัฒนานโยบายที่กระชับ ชัดเจน และพุ่งเป้าไปที่กลุ่มคนยากคนในชนบท ไม่ว่าจะเป็นนโยบายพักชำาระหนี้
                  เกษตรกร นโยบายกองทุนหมู่บ้าน และนโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตรงข้ามกับพรรคประชาธิปัตย์ที่เย้ย

                  ไปที่การร่วมมือกับ IMF เพื่อนโยบายทางเศรษฐกิจ ทั้งยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่จะตกกับ
                  ชาวชนบทเหมือนอย่างที่พรรคไทยรักไทยได้นำาเสนอ ด้วยเหตุนี้ พรรคประชาธิปัตย์จึงพ่ายแพ้กับการเลือกตั้ง

                  ครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่ง Ockey ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การที่พรรคไทยรักไทยได้รับเลือกตั้งอาจจะไม่ได้
                  มาจากรัฐธรรมนูญ 2540 โดยตรง แต่อาจจะมาจากการที่พรรคจับประเด็นปัญหาถูกต้อง กล่าวคือ พรรคเสนอ

                  แนวทางแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ได้อย่างเป็นรูปธรรมดีกว่าพรรคประชาธิปัตย์ แต่อย่างไรก็ตาม สาเหตุ
                  ของชัยชนะการเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยก็เปลี่ยนแปลงไปหลังเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองของไทย เช่น

                  จากศึกษาของสุรชัย ตั้งมกรา (2556) ที่ศึกษาถึงปัจจัยที่ทำาให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย
                  ประสบความสำาเร็จในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เขตเลือกตั้งที่ 5 จังหวัดเชียงใหม่

                  พบว่า ชัยชนะในการเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยเกิดจากการเคลื่อนไหวของชมรมคนรักฝาง แม่อาย ไชยปราการ
                  กลุ่มคนเสื้อแดงที่มีการวางยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีการเลือกตั้งอย่างเป็นระบบและปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์

                  ทางการเมือง โดยเฉพาะการสร้างอัตลักษณ์ทางการเมืองร่วมกันของคนเสื้อแดง
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62