Page 59 - kpiebook63012
P. 59
59
การหาเสียงแบบโดด กล่าวคือ โดยลำาพังมิต้องพึ่งทีมและพรรคในการหาเสียง แน่นอนว่าทำาให้พรรคการเมือง
อ่อนแอ ผู้สมัครหาเสียง และพรรคเองก็สามารถร่วมงานกันได้ ถึงแม้จะไม่มีอุดมการณ์หรือนโยบายร่วมกันใด ๆ เลย
ระบบการเลือกตั้งเช่นนี้เอื้อในทางการหาเสียงโดยเน้นตัวบุคคลผู้สมัครเป็นหลัก พฤติกรรมเบี่ยงเบนในการเลือกตั้ง
จึงเกิดขึ้นเนื่องด้วยว่าเป็นวิธีการที่ง่าย สะดวก และตัดกำาลังคู่แข่งทั้งต่างพรรคและในพรรคการเมือง อีกทั้ง
ยังส่งเสริมระบบอุปถัมภ์ด้วยเช่นกัน ประการสุดท้าย ประการที่เจ็ด คือ บทบาทของนักธุรกิจ/นักการเมือง
ที่มักอาศัยช่องโหว่ช่องว่างทางกฎหมาย หรือพยายามหลบเลี่ยงในการกระทำาพฤติกรรมเบี่ยงเบนในการเลือกตั้ง
ซื้อสิทธิ์ขายเสียง นักธุรกิจมักอาศัยช่องทางและอำานาจทางการเมืองเพื่อสร้าง พิทักษ์ หรือขยายกิจการและ
ผลประโยชน์ของตนเอง จึงมักสนับสนุนกลุ่มการเมือง หรือไม่ก็เข้ามาเล่นการเมืองเสียเอง ซึ่งต่อมานักธุรกิจ/
การเมืองเหล่านี้พัฒนาการหาเสียงตนเองให้เปรียบเสมือนระบบตลาดมากขึ้นเรื่อย ๆ กล่าวคือ ใช้กลยุทธ์ที่มี
แนวโน้มไปในเชิงพฤติกรรมเบี่ยงเบนในการเลือกตั้งมากขึ้น จนเริ่มมีลักษณะความเป็นสถาบันไปเสียแล้ว นอกจากนั้น
ยังพยายามเข้าไปแทรกแซงการเมืองท้องถิ่นไปจนถึงระดับหมู่บ้าน เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ
จากงบประมาณในโครงการต่าง ๆ นั้นเอง จนกลายเป็นวงจรที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป
ในการศึกษาเรื่องพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดพะเยา ช่วงการเลือกตั้งที่ผ่านมา
เช่น งานของ วีระ เลิศสมพร (2558) โดยศึกษาความเคลื่อไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพะเยา พ.ศ. 2544 พบว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ดำาเนินการประชาสัมพันธ์ผ่าน
ช่องทางต่าง ๆ เช่น ป้ายคัทเอาท์ แผ่นพับ ใบปลิว รถแห่ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น โดยได้ดำาเนินการตามกฎเกณฑ์
ภายใต้ข้อกำาหนด แต่จะมีบางพื้นที่ที่เกิดการทำาลายป้ายหาเสียง ส่วนบรรยากาศของประชาในจังหวัดพะเยา
มีความตื่นเต้นและคึกคักจากการประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานระดับชาติและระดับท้องถิ่น ซึ่งประชาชนมีความรู้
และความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งในระดับหนึ่ง จาก “ความตื่นตัว” และ “ความกระตือรือร้น” ในการออก
มาใช้สิทธิเลือกตั้ง สำาหรับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งมาก
พอสมควร โดยบรรยากาศใกล้ช่วงวันเลือกตั้งจะคึกคักเป็นพิเศษ และถ้าหากประชาชนมีความรู้ทางการเมือง
ในทิศทางใดก็จะปฏิบัติเช่นนั้น ความเคลื่อนไหวและพฤติกรรมของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เป็นไปในเชิงบวก คือ
การไม่ขัดต่อกฎหมายหรือสร้างสรรค์ การไม่เน้นโจมตีผู้แข่ง แต่จะเน้นการนำาเสนอนโยบายของพรรคการเมือง
ต้นสังกัด เป็นต้น โดยมีวีธีการหาเสียงเชิงบวกแบบเปิดเผย เช่น การแจกใบปลิว การเดินเคาะประตูบ้าน การจัด
เวทีปราศัยทั้งขนาดย่อยและใหญ่ การออกสื่อโทรทัศน์ แต่ก็ยังมีความเคลื่อนไหวและพฤติกรรมของผู้สมัคร
รับเลือกตั้ง ในเชิงลบ ได้แก่ การซื้อเสียง อย่างไรก็ตาม ยังมีข้าราชการบางกลุ่มที่มีพฤติกรรมการวางตัวไม่เป็นกลาง
หรือให้การสนันสนุนพรรคการเมืองที่เอื้อผลประโยชน์ต่าง ๆ กับตน อาจเนื่องด้วยแบบแผนพฤติกรรมทางการเมือง
ของประชาชนจังหวัดพะเยา มีความสอดคล้องกับ “วัฒธรรมทางการเมือง” ซึ่งจากผลสรุปในข้างต้นที่กล่าวมานั้น
วัฒธรรมทางการเมืองของคนจังหวัดพะเยามีลักษณะเป็นไปตามแนวคิดแบบ “ไพร่ฟ้า” อำานาจนิยม และ
ความสัมพันธ์แบบอุปถัมป์ ซึ่งสอดคล้องกับงานของ ฉัตรทิพย์ ชัยฉกรรจ์ (2559) ศึกษาเรื่องโครงการวิจัย
เชิงสำารวจความคิดเห็นของประชาชนจังหวัดพะเยาที่มีต่อเหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. 2557 ที่มีข้อเสนอแนะ
จากผลสรุปงานวิจัย คือ แม้คนพะเยาจะไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างชัดเจน แต่ก็มีความคิดเห็น
ทางการเมืองที่หลากหลาย จึงทำาให้การเมืองพะเยามีความหลากหลายมากกว่าที่จะสรุปว่าเป็นสีใดสีหนึ่ง