Page 58 - kpiebook63012
P. 58
58 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา
สำาหรับพฤติกรรมการเลือกตั้ง จากการศึกษาของ สิริพรรณ นกสวน สวัสดี (2554) เรื่อง บทบาท
พรรคการเมืองและพฤติกรรมและการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 พบว่า ประชาชนสนใจกับชุดนโยบายของพรรคการเมืองมากยิ่งขึ้น โดยพรรคการเมือง
พยายามเสนอนโยบายให้กับประชาชนในลักษณะที่ครอบคลุมทุกด้าน และประชาชนแสดงพฤติกรรมในการ
ลงคะแนนเสียงผ่านการตัดสินใจด้วย “ตัวเอง” มากขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอิทธิพลของในการชักจูงของแกนนำา
หัวคะแนน นักการเมืองท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่รัฐลดลง และยังทำาให้เห็นว่า ประชาชนมีการเรียนรู้ทางการเมือง
มากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับการศึกษาของ อภิชาต สถิตนิรามัย และคณะ (2556) ในการทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย
โดยอธิบายการเปลี่ยนแปลงสถาบันทางการเมืองตั้งแต่การมีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 สถาบันการเมืองแบบใหม่นี้
ในทางหนึ่งสร้างแรงจูงใจให้นักการเมืองตอบสนองความต้องการของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากขึ้น โดยสร้างนโยบาย
ในขอบเขตระดับชาติ และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในรอบยี่สิบปีที่ผ่านมา ทำาให้ความสัมพันธ์
ของผู้คนในสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปโดยรากฐาน โดยแม้ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ยังคงมีอยู่ แต่ความสัมพันธ์
แนวตั้งแบบนี้ไม่ได้เป็นลักษณะของสังคมอีกต่อไป ตรงกันข้ามความสัมพันธ์ในลักษณะอื่น ๆ โดยเฉพาะใน
เชิงแนวนอนจะมีความสำาคัญเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ในหลายท้องถิ่นมีการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมแบบใหม่
ซึ่งมีลักษณะสังคมในแบบเครือข่ายแนวนอนที่มีความซับซ้อน ยืดหยุ่น และผันแปรอยู่เสมอ
ทั้งนี้ สมบัติ จันทรวงศ์ ((2536, ... ณสดมภ์ ธิติปรีชา, 2554) ได้ทำาการศึกษาวิจัยพฤติกรรมเบี่ยงเบน
ในการหาเสียงเลือกตั้งในช่วงระยะเวลาก่อนปี 2536 (ในนัยยะนี้หมายถึงพฤติกรรมที่ไม่ดี ไม่พึ่งประสงค์
ซึ่งถือว่าเป็นวิกฤตในการเลือกตั้งของสังคมไทย) ระบุว่า สาเหตุที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนมาจากสาเหตุ
7 ประการ คือ ประการที่หนึ่ง ความเหลื่อมลำ้าทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ก่อให้เกิดระบบอุปถัมภ์ระหว่าง
นักการเมืองและประชาชน ง่ายต่อการซื้อสิทธิ์ขายเสียง หรือการนำาเอางบประมาณมาทุ่มพัฒนาฐานเสียงของตน
เป็นการเมืองแบบจัดสรรผลประโยชน์ (Pork – Barrel Politics) ประการที่สอง สาเหตุด้านวัฒนธรรมและทัศนคติ
สืบเนื่องจากเหตุผลประการแรก ทำาให้ทั้งตัวประชาชนและผู้สมัครลงเลือกตั้ง มองพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนเหล่านี้
ดังเช่น การสร้างเครือข่ายอุปถัมภ์ การซื้อสิทธิ์ขายเสียง การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ กลายเป็นเรื่องปกติที่ใคร ๆ
ก็ทำากัน นักการเมืองจึงดำารงสถานะในฐานะผู้อุปถัมภ์นั่นเอง ประการที่สาม ความหย่อนยานของการบังคับใช้
กฎหมายที่ปล่อยปะละเลยกฎหมายที่ดี เสมือนว่าจะเน้นหลักความเสมอภาคของผู้เข้าแข่งขันและเสรีภาพของ
ผู้เลือกตั้ง แต่การปฏิบัติจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะไม่มีการบังคับใช้อย่างจริงจังปล่อยปะละเลย จนกลายเป็น
วัฒนธรรมทางการเมืองของสังคมไทยอย่างหนึ่งไปเสียแล้ว อีกทั้งการจัดการเลือกตั้งที่ทำาตามข้าราชประจำา
ผลคือทำาให้นักการเมืองสามารถควบคุมและมีผลได้ผลเสียต่อการเลือกตั้งได้ ข้าราชการจึงตกอยู่ใน
ภาวะลำาบากในการตรวจสอบความโปร่งใสในการเลือกตั้ง ประการที่สี่ เขตเลือกตั้งที่ใหญ่จนเกินไป กล่าวคือ
ทำาให้ยุทธศาสตร์อื่น ๆ ในการเลือกตั้งนั้นยากลำาบาก การกระทำาพฤติกรรมเบี่ยงเบนในการเลือกตั้ง
ผ่านการซื้อสิทธิ์ขายเสียงดูจะเป็นตัวเลือกที่ง่ายกว่าในการเข้าถึง และสะดวกกว่าในการคำานวณฐานเสียง
ประการที่ห้า ความอ่อนแอของระบบพรรคการเมือง เนื่องจากพรรคการเมืองไทยเป็นเพียงแค่การรวมตัว
หลวม ๆ เพื่อได้สิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้งเพียงเท่านั้น แต่เน้นการหาเสียงและยุทธศาสตร์ของตัวบุคคล
เสียมากกว่า ประการที่หก ระบบการเลือกตั้ง แบบแบ่งเขต-เรียงเบอร์ ระบบการเลือกตั้งเช่นนี้เปิดโอกาสให้เกิด