Page 54 - kpiebook63012
P. 54
54 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา
2.4) พระสงฆ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับเจ้าอาวาสหรือพระอาจารย์ต่าง ๆ เป็นผู้ที่มีอิทธิพลทางจิตใจ
ต่อชาวบ้านเป็นอย่างยิ่ง หากผู้สมัครสามารถโน้มน้าวให้พระช่วยหาคะแนนให้แล้ว โอกาสที่จะ
ได้รับคะแนนเสียงในเขตเลือกตั้งในจำานวนมากเป็นไปได้สูง
2.5) กลุ่มอาชีพอื่น ๆ ที่เป็นเจ้าพ่อ นักเลง อันธพาล หัวคะแนนประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบ
อาชีพไม่สุจริตหรือผิดกฎหมาย เช่น เจ้ามือบ่อนการพนัน เจ้ามือหวยเถื่อน ซึ่งมักมีความสัมพันธ์
อันดีกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น แม้จะมีอาชีพที่ผิดกฎหมาย เนื่องจากมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์
ต่อกัน รวมทั้งยังมีความสัมพันธ์กับประชาชนโดยมากด้วยธุรกิจที่ไม่เปิดเผยเช่น เจ้ามือ
หวยใต้ดินจะเป็นที่รู้จักของประชาชนอย่างกว้างขวางแทบทุกหมู่บ้านและชุมชน โดยผ่าน
คนเดินโพย เมื่อเจ้ามือหวยเถื่อนแปรสภาพเป็นหัวคะแนน คนเดินโพยก็แปรสภาพเป็นหัวคะแนน
ในระดับชุมชนได้เป็นอย่างดี
3) การแบ่งประเภทหัวคะแนนตามลักษณะการจัดตั้ง แบ่งออกเป็น
3.1) หัวคะแนนที่มีการจัดตั้งโดยตรงจากผู้สมัครหรือพรรคการเมืองของผู้สมัคร ได้แก่ หัวคะแนน
ที่เป็นฐานคะแนนเสียงหรือเกิดจากการจัดตั้งของผู้สมัครหรือพรรคการเมืองของผู้สมัคร
การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งช่วงหลัง ๆ ผู้สมัครพยายามจัดตั้งหัวคะแนนระดับต่าง ๆ เพื่อให้
ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด โดยอาศัยหัวคะแนนเหล่านั้นระดมให้ผู้ลงคะแนนมาลงคะแนนเสียง
ให้แก่ผู้สมัครด้วยวิธีการต่าง ๆ คะแนนเสียงที่ได้มาในลักษณะนี้เรียกว่า “คะแนนจัดตั้ง”
หมายถึง ผู้ลงคะแนนที่มาลงคะแนนเสียงเลือกตั้งโดยการชักนำาของหัวคะแนนผู้สมัคร
3.2) หัวคะแนนที่ไม่มีการจัดตั้งไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับผู้สมัครที่เป็นหัวคะแนนที่เกิดขึ้นเอง
โดยไม่ได้มีการชักชวนจากผู้สมัครโดยตรง แต่เป็นผู้ที่ช่วยในการรณรงค์หาเสียงให้ผู้สมัคร
ด้วยความสมัครใจโดยมิได้หวังผลตอบแทน หัวคะแนนในลักษณะนี้เกิดภายใต้สภาพการณ์พิเศษ
หรือผู้สมัครมีคุณสมบัติโดดเด่นต่างไปจากคุณสมบัติของผู้สมัครคนอื่น ๆ
4) การแบ่งประเภทหัวคะแนนตามความช�านาญ แบ่งออกเป็นสามประเภทคือ
4.1) หัวคะแนนมีความชำานาญ ได้แก่ หัวคะแนนที่มีความชำานาญในการหาเสียงในพื้นที่นั้น ๆ
ทุกสมัย ผู้สมัครที่มีหัวคะแนนในลักษณะนี้ช่วยหาเสียงย่อมมีหลักประกันในการได้รับคะแนนเสียง
4.2) หัวคะแนนที่ยังไม่เคยเป็นหัวคะแนนมาก่อน หัวคะแนนประเภทนี้ไม่ค่อยมีความชำานาญ
ในการหาเสียง ทำาให้คาดการณ์คะแนนเสียงที่จะได้รับยาก
4.3) หัวคะแนนจอมปลอมหรือหัวคะแนนหลอกลวง ได้แก่ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่ได้เป็น
หัวคะแนนจริง แต่ใช้วิธีการต่าง ๆ หลอกลวงผู้สมัครว่าตนเป็นหัวคะแนนจริง เพื่อหวังเรียกร้อง
ผลประโยชน์จากผู้สมัครหน้าใหม่หรือยังไม่มีประสบการณ์ในพื้นที่