Page 50 - kpiebook63012
P. 50

50    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา








                       1.3  การเข้าถึงตัวผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง เป็นการหาเสียงแบบที่นิยมเรียกกันว่า “การเคาะ

                            ประตูบ้าน” เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้สมัครหน้าใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามชุมชนที่มีคนหนาแน่น
                            เช่น ชุมชนตลาด เขตเมือง ศูนย์การค้า เป็นต้น เพราะนอกจากจะได้ภาพพจน์ว่าเป็นผู้สมัครที่

                            เข้าถึงได้แล้ว ยังจะดูเป็นการสร้างความรู้สึกใกล้ชิดสนิทสนมกับชาวบ้านได้ในระยะเวลาอันสั้น


                       1.4  การใช้สื่อมวลชนเพื่อการหาเสียง สื่อมวลชนทุกประเภทโดยเฉพาะหนังสือพิมพ์มีบทบาท
                            ที่สำาคัญในการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการหาเสียงของพรรคการเมืองต่าง ๆ ในระดับชาติ นักการเมือง

                            ที่มีประสบการณ์จะพยายามอาศัยคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ทำาตัวให้เป็นข่าวอยู่เป็นประจำา
                            โดยเฉพาะสำาหรับผู้สมัครหน้าใหม่จะให้ความสำาคัญกับโอกาสดังกล่าวมาก เพราะถือได้ว่า

                            เป็นการประชาสัมพันธ์ตัวเองเป็นอย่างดี เนื่องจากผู้สมัครสามารถนำาข่าวดังกล่าวถ่ายเอกสาร
                            แจกจ่ายชาวบ้านหรือเพื่อนำาลงในเอกสารประชาสัมพันธ์ที่ตนทำาเลียนแบบรูปของหนังสือพิมพ์

                            สำาหรับแจกจ่ายในเขตการเลือกตั้งอีกที่หนึ่ง

                      นอกจากหนังสือพิมพ์ระดับชาติแล้ว หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในบางจังหวัดยังเป็นเครื่องมือในการหาเสียง

             ที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในเขตเมืองหรือเขตเทศบาล แต่เนื่องจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น มีจำานวนพิมพ์ที่จำากัด

             และมีผู้อ่านจำากัดอยู่ในเขตเมืองเป็นส่วนใหญ่ การหาเสียงโดยหนังสือพิมพ์ประเภทนี้จึงมีเป้าที่ค่อนข้างจำากัด


                      2)   รูปแบบการหาเสียงที่ไม่เปิดเผยหรือพฤติกรรมการหาเสียงที่เบี่ยงเบน

                      กมล ทองธรรมชาติ ปรีชา หงส์ไกรฤกษ์และสมบูรณ์ สุขสำาราญ (2531 อ้างถึงใน สุรชัย ตั้งมกรา,

             2556, น.20 ความอ้างถึงลำาดับที่ 16, 2556, น. 19-24) ได้จำาแนกพฤติกรรมในการหาเสียงที่เบี่ยงแบนไว้ว่า ได้แก่


                       2.1   การใช้อิทธิพลจากราชการ กรณีที่พรรคการเมืองได้เป็นรัฐบาลและสมาชิกของพรรคได้
                            ดำารงตำาแหน่งรัฐมนตรีในกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง เช่น กระทรวงมหาดไทย

                            กระทรวงศึกษาธิการ ก็มักใช้ตำาแหน่งอิทธิพลในหน้าที่ของตนทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
                            เพื่อสร้างความได้เปรียบในการหาเสียงเลือกตั้งให้กับตนเองและลูกพรรคของตน บางครั้ง

                            ผู้สมัครรับเลือกตั้งบางคนได้ใช้เงินซื้อกรรมการประจำาหน่วยเลือกตั้ง เพื่อให้ได้ชัยชนะใน
                            การเลือกตั้ง โดยเฉพาะในหน่วยเลือกตั้งที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากเป็นพิเศษหรือเป็นหน่วยที่มี

                            ช่องทางทุจริตได้ง่าย โดยการนำาวิธีการต่าง ๆ เช่น เวียนเทียน พลร่ม ไพ่ไฟ บัตรผีหรือบัตรเหลือง
                            หรือการเจตนาขานบัตรที่ดีให้เป็นบัตรเสีย รวมไปถึงการนับคะแนนล่าช้า เพื่อตกแต่งคะแนน

                            ให้ผู้แพ้กลับเป็นฝ่ายชนะได้หรือที่นิยมกันมาก คือ การจ้างให้กรรมการใช้สิทธิแทนผู้เลือกตั้ง
                            ที่ไม่ไปใช้สิทธิ เป็นต้น
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55