Page 47 - kpiebook63012
P. 47

47








                          ทั้งนี้ ได้มีการรวบรวมความคิดของนักวิชาการและบุคคลสำาคัญที่ได้แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับระบบ

                  การเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไรทย พ.ศ. 2560 ไว้ดังนี้ (ชงคชาญ สุวรรณมณี, 2561, น.3-5)


                          มีชัย ฤชุพันธุ์ (2558) ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงข้อดีของระบบเลือกตั้ง สมาชิก
                  สภาผู้แทนราษฎร “แบบจัดสรรปันส่วนผสม” โดยสรุปว่า นอกจากจะไม่ทำาให้คะแนนของประชาชนสูญไป

                  โดยเปล่าประโยชน์ ระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบนี้ยังเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย และจะ
                  ทำาให้ทุกพรรคคัดเลือกคนที่ดีที่สุดมาเป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยได้อธิบายประโยชน์ ของระบบ

                  เลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมไว้ ดังนี้ 1. เคารพเสียงของประชาชนทุกคะแนนจะไม่สูญเปล่า 2. ไม่คำานึง
                  ถึงประโยชน์ของพรรคการเมืองใด แต่มุ่งให้คะแนนของประชาชนมีนำ้าหนักในการออกเสียงเลือกตั้งมากที่สุด

                  3. เป็นการสร้างความปรองดอง คือ ให้คะแนนเฉลี่ยกับทุกพรรคตามความเหมาะสม 4. สร้างระบบเลือกตั้ง
                  ที่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทย เลือกปรับใช้ในส่วนที่เป็นประโยชน์ 5. แก้ไขปัญหาการจัดสรรงบประมาณ

                  ที่อิงเฉพาะพื้นที่ฐานเสียงของพรรคตน 6. พรรคจะคัดเลือกคนดีลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อหวังคะแนนไปคำานวณ
                  เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บัญชีรายชื่อ 7. คำานึงถึงคะแนนเสียงของประชาชน ที่ถูกทิ้งไปอย่างไม่เป็นธรรม


                          โคทม อารียา (2558) ผู้อำานวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า

                  ข้อเสนอระบบเลือกตั้งดังกล่าวหากนับกรณีในประเทศไทยอาจทำาให้พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์
                  เกิดความเสียเปรียบ แต่ดูแล้วเพื่อไทยจะเสียเปรียบมากกว่า เพราะที่ผ่านมาทั้งการเลือกตั้งปี 2550 หรือ 2554
                  จะพบว่า เพื่อไทยมีสถิติชนะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบแบ่งเขตเลือกตั้งมากกว่า ส่วนระบบ

                  บัญชีรายชื่อจะเห็นผลต่างไม่ค่อยมากเท่าไหร่


                          ยุทธพร อิสรชัย (2558) รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า สำาหรับระบบ

                  การเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ที่ให้เอาคะแนนผู้แพ้แบบแบ่งเขตเลือกตั้งมาคำานวณเป็นสมาชิก
                  สภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อนั้น โดยปกติคงต้องดูวัตถุประสงค์ของการมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                  ซึ่งทั่วไปสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง นอกจากมีหน้าที่ทำางานด้านนิติบัญญัติ ตรวจสอบ

                  ฝ่ายบริหารแล้ว ที่สำาคัญคือ การเป็นตัวแทนประชาชนในการแก้ปัญหาความเดือดร้อน ทั้งนี้เพราะว่า การกระจาย

                  อำานาจในประเทศไทยยังไม่สมบูรณ์ ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการ
                  ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคต่าง ๆ และเป็นพื้นที่สำาหรับคนที่ไม่เชี่ยวชาญในการหาเสียง จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์
                  ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อนั้นแตกต่างกัน ข้อดีของระบบดังกล่าว

                  อาจทำาให้เสียงข้างน้อยไม่ถูกทิ้ง แต่เป็นการทำาลาย หลักเสียงข้างมาก และบิดเบือนผลการเลือกตั้งได้ ซึ่งการให้

                  ความสำาคัญกับเสียงข้างน้อยยังมีกลไกที่หลากหลาย เช่น การใช้กลไกรัฐสภา การเพิ่มอำานาจให้ฝ่ายค้าน
                  เพิ่มอำานาจกรรมาธิการในการตรวจสอบ ซึ่งทั้งหมดเป็นกลไกที่ทำาได้


                          สิริพรรณ นกสวน สวัสดี (2558) อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โจทย์
                  ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญต่อการกำาหนดรูปแบบการเลือกตั้ง เริ่มจากความต้องการจะทำาให้ ทุกคะแนน

                  ไม่สูญเปล่า เราอาจมองแบบนั้นก็ได้ เพราะคะแนนของผู้ไม่ได้รับเลือกตั้งจากแต่ละเขตเลือกตั้ง จะกระจาย
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52