Page 42 - kpiebook63012
P. 42
42 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา
ทางหนึ่งในกรณีเช่นนี้มักขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้นของการแข่งขันเป็นสำาคัญ เช่น ถ้าหากนาย ข. และนาย ค.
มีคะแนนนิยมสูสี ผู้เลือกมีแนวโน้มที่จะเลือกด้วยกลยุทธ์มากกว่า เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้สมัครที่ตนไม่ชอบชนะ
ถึงแม้จะไม่ได้ลงคะแนนให้ผู้สมัครที่ตนชอบมากที่สุดก็ตาม กรณีตัวอย่างเช่นนี้จะเกิดขึ้นมากในสังคมไทย
หากระบบเลือกตั้งกำาหนดเกณฑ์ขั้นตำ่าไว้สูงมาก จนพรรคการเมืองขนาดเล็กไม่มีโอกาสชนะได้เลย ผู้เลือกตั้ง
จะหันไปเทคะแนนให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่และขนาดกลางมากขึ้น เพื่อให้คะแนนเสียงของตนมีความหมาย
ต่อการเลือกตั้ง
4) ระบบเลือกตั้งส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่าง “ผู้แทน” และประชาชน กล่าวคือ ระบบเลือกตั้ง
แบบเขตเดียวคนเดียว และในเขตเลือกตั้งขนาดเล็กจะทำาให้ได้ตัวแทนที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนในเขตพื้นที่
ผู้แทนสามารถดูแลและรักษาผลประโยชน์ของเขตเลือกตั้งตนได้อย่างทั่วถึง เมื่อเกิดปัญหาในพื้นที่ประชาชน
สามารถหาผู้รับผิดชอบช่วยเหลือได้อย่างชัดเจน ในทางตรงกันข้าม ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนที่มีเขตเลือกตั้ง
ขนาดใหญ่ จะทำาให้ผู้แทนห่างเหินกับประชาชนยิ่งหากทั้งประเทศเป็นเขตเลือกตั้งไปด้วยแล้ว ผู้แทนมักจะ
รับผิดชอบต่อพรรคการเมืองและสนใจประเด็นปัญหาระดับชาติมากกว่า โดยเฉพาะหากผู้แทนในระบบบัญชีรายชื่อ
จำานวนมากมาจากนายทุนพรรคการเมือง จะยิ่งส่งผลต่อปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างผู้แทนและประชาชนใน
ภูมิภาค ปัญหาเช่นนี้พบได้มากในสังคมเกษตรกรรมเช่นประเทศไทย ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้แทนและประชาชน
มีลักษณะอุปถัมภ์พึ่งพาสูง ประชาชนมีความคาดหวังต่อการทำาหน้าที่ของผู้แทนในเรื่องปัญหาชีวิตประจำาวัน
เฉพาะหน้าของท้องถิ่น มากกว่าให้ผู้แทนต้องมีความรู้และวิสัยทัศน์ในการวางแผนพัฒนาประเทศชาติในระยะยาว
จะเห็นได้ว่าระบบเลือกตั้งแต่ละแบบมีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน ระบบเลือกตั้งแบบผสมซึ่งประนีประนอม
ข้อดีข้อเสียจากการเลือกตั้งระบบเขตและระบบสัดส่วนจึงได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน ประเด็นที่
นักออกแบบสถาบันจะต้องตระหนักอยู่เสมอคือ ไม่มีระบบเลือกตั้งที่ดีที่สุดสำาหรับทุกสังคม ระบบเลือกตั้งที่ดี
เป็นระบบเลือกตั้งที่เหมาะสมกับลักษณะของสังคม และพฤติกรรมทางการเมืองของนักการเมืองและของ
ประชาชนในประเทศนั้น ๆ โดยทั่วไป ระบบเลือกตั้งส่วนใหญ่จะเอื้อประโยชน์ให้พรรคใหญ่มากกว่าพรรคเล็ก
อีกนัยหนึ่งคือ ในทุกระบบเลือกตั้งพรรคใหญ่จะได้เปรียบ และในทางปฏิบัติพรรคการเมืองสามารถหาช่องทาง
หลีกเลี่ยงความเข้มงวดและมาตรการของระบบเลือกตั้งได้เสมอ ตราบใดที่นักการเมืองเป็นผู้มีบทบาทใน
การกำาหนดควบคุมกระบวนการในการปฏิรูประบบเลือกตั้ง พวกเขาก็จะมีแรงจูงใจที่จะสร้างมาตรการป้องกัน
ความปลอดภัย (safety values) เพื่อรักษาความอยู่รอดของตนเอง