Page 40 - kpiebook63012
P. 40
40 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา
ระบบบัญชีรายชื่อของสวิตเซอร์แลนด์มีจุดเด่นอยู่ที่พรรคการเมืองเพียงแต่ส่งรายชื่อผู้สมัครในนาม
พรรค ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งซึ่งมีสิทธิลงคะแนนได้เท่าจำานวนผู้แทนในเขตนั้นสามารถดำาเนินการดังนี้
1. จัดลำาดับผู้สมัครโดยการเขียนชื่อผู้สมัครและลำาดับลงในบัตรเลือกตั้งซึ่งอาจจะเป็นชื่อผู้สมัครจาก
พรรคการเมืองอื่นก็ได้ (Split the Ticket) เมื่อผู้ใช้สิทธิเลือกที่จะ “แยกบัญชี” โดยใส่ชื่อผู้สมัคร
จากพรรคอื่น ผู้สมัครบางคนจากพรรคที่เขาเลือกจะต้องเสียที่นั่งไป
2. ใส่ชื่อผู้สมัครที่ตนเองชอบสองครั้ง กระบวนการนี้เรียกว่า การใส่ชื่อซำ้า (Accumulation)
ซึ่งถ้าทำาเช่นนี้จะต้องขีดฆ่าชื่อผู้อื่นภายในบัญชีเดียวกันออก
3. อาจขีดฆ่า (Strike out) ชื่อผู้สมัครบางคนทิ้งไปก็ได้
ระบบเช่นนี้มีชื่อว่า “พานาแชนจ์” (Panachange) เมื่อเป็นเช่นนี้ พรรคการเมืองจึงไม่ได้มีอำานาจ
เหนือผู้สมัครในพรรค เป็นการลดทอนอำานาจของพรรคการเมืองลงไปโดยปริยาย และโอนอำานาจนั้นให้ประชาชน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
2.1.5 ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงระบบเลือกตั้งและระบบกำรเมือง
สิริพรรณ นกสวน (2558) ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างระบบเลือกตั้งและระบบการเมืองสามารถ
แบ่งออกได้เป็น 4 ประเด็น คือ อิทธิพลของระบบเลือกตั้งต่อจำานวนพรรคการเมือง ต่อองค์กรพรรคการเมือง
ต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน และต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้แทนและประชาชน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1) อิทธิพลของระบบเลือกตั้งต่อจำานวนพรรคการเมืองในระบบ : ความสัมพันธ์ระหว่างระบบเลือกตั้ง
และจำานวนพรรคการเมืองนับว่าเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบมากที่สุด
ประเด็นหนึ่ง มอริส ดูเวอร์แยร์ นักรัฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้เสนอว่าข้อแตกต่างประการสำาคัญระหว่างระบบเลือกตั้ง
แบบเสียงข้างมาก และระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน คือระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากที่เขตเลือกตั้งมีตัวแทนได้
คนเดียวมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดระบบพรรคการเมืองหลายพรรค กฎของดูเวอร์แยร์ (Duverger’s Law) นี้
ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่าดูเวอร์แยร์สับสนระหว่าง “สาเหตุ” และ “การเกิดขึ้น
ร่วมกัน” กล่าวคือ นักรัฐศาสตร์ที่ไม่เห็นด้วยกับกฎนี้มองว่าระบบเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากธรรมดาในเขต
เลือกตั้งที่มีตัวแทนคนเดียวไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงต่อการเกิดระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค เพียงแต่
ทั้งสองปัจจัยเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมกันบ่อยครั้ง