Page 36 - kpiebook63012
P. 36

36    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา








                      4) ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน (Proportional Representation)


                      โดยนิยามแล้วระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนจะใช้ได้เฉพาะเขตเลือกตั้งที่มีตัวแทนได้มากกว่า 1 คน

             (Multi-Member Districts) เพราะชัดเจนว่าเราไม่สามารถแบ่งที่นั่ง 1 ที่ให้กับหลายพรรคการเมืองได้ ระบบ
             เลือกตั้งแบบสัดส่วนนิยมเรียกกันง่าย ๆ ว่าระบบบัญชีรายชื่อ (List Systems) การนำาระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน

             มาใช้สัมพันธ์กับปัจจัย 5 ประการ คือ ขนาดเขตเลือกตั้ง ลำาดับขั้นของเขตเลือกตั้ง สูตรการคำานวณ เกณฑ์ขั้นตำ่า
             และการจัดลำาดับผู้สมัครรับเลือกตั้ง


                       4.1)   ขนาดของเขตเลือกตั้ง (district magnitude) แบ่งได้เป็นทั้งประเทศเป็น 1 เขต เช่น ไทย
                            (100 ที่นั่ง) อิสราเอล (120 ที่นั่ง) เนเธอร์แลนด์ (150 ที่นั่ง) เป็นต้น แต่ประเทศส่วนใหญ่

                            ในโลกใช้การแบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็นเขตย่อย ๆ หลายเขต เช่น สเปน แบ่งประเทศออกเป็น

                            52 เขตเลือกตั้ง เพื่อเลือกสมาชิกสภาทั้งหมด 350 คน โดยแบ่งเป็นเขตละ 3 ถึง 34 คน
                            แต่งต่างกันไป ขนาดของเขตเลือกตั้งมีผลต่อยุทธศาสตร์การหาเสียงของพรรคการเมือง และที่
                            สำาคัญสามารถเอื้อประโยชน์ให้พรรคการเมืองแตกต่างกัน โดยทั่วไปพบว่าเขตเลือกตั้งขนาดใหญ่

                            มากเช่นทั้งประเทศเป็นหนึ่งเขตเลือกตั้ง เช่น ประเทศไทย จะเอื้อประโยชน์ให้พรรคการเมือง

                            ใหญ่ที่มีเงินทุนสูง และพรรคซึ่งเป็นที่รู้จัก มีผลงานเป็นที่ยอมรับของประชาชนอยู่แล้ว เพราะ
                            พรรคการเมืองขนาดใหญ่มีทุนมาก มีทรัพยากรที่จะใช้จ่ายในการหาเสียได้มากกว่า อีกทั้ง
                            กลยุทธ์ในการหาเสียงที่มีประสิทธิภาพ เช่น การใช้สื่อโทรทัศน์และวิทยุ มีความจำาเป็นอย่าง

                            มากในเขตเลือกตั้งขนาดใหญ่

                       4.2)   ลำาดับขั้นของเขตเลือกตั้ง (tiers) ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนที่ใช้ในบางประเทศมีลำาดับชั้นของ

                            เขตเลือกตั้ง กล่าวคือ แบ่งเขตเลือกตั้งเป็นระดับประเทศ ระดับภาค และระดับจังหวัด เช่น
                            กรีซแบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 1 เขตระดับประเทศ 13 เขตระดับภาค และ 56 เขตระดับท้องถิ่น

                            เป็นต้น การจัดสรรที่นั่งให้พรรคการเมืองในแต่ละลำาดับชั้นของเขตเลือกตั้งถูกผูกโยงเข้าด้วยกัน
                            โดยมักใช้คะแนนเสียงที่พรรคได้รับในระดับประเทศ ซึ่งเป็นลำาดับชั้นของเขตเลือกตั้งที่มี

                            ขนาดใหญ่ที่สุด แก้ไขสัดส่วนที่เบี่ยงเบนของคะแนนเสียงที่พรรคได้รับในเขตเลือกตั้งระดับ
                            รองลงมา เช่น หากพรรคการเมืองได้รับที่นั่งในเขตเลือกตั้งระดับจังหวัดน้อยกว่าที่พรรคได้รับ

                            ในระดับชาติ พรรคนั้นก็จะได้รับการชดเชยที่นั่งในเขตเลือกตั้งระดับชาติในลักษณะเดียวกัน
                            กับระบบผสมเขตกับสัดส่วน (MMP) ที่กล่าวแล้วข้างต้น


                       4.3)   สูตรการคำานวณ (Electoral Formula) แบ่งกว้าง ๆ ออกเป็นสองสูตร คือ ค่าเฉลี่ยสูงสุด
                            (Highest Average) และเหลือเศษสูงสุด (Largest Remainders) สูตรค่าเฉลี่ยสูงสุด มีวิธีการ
                            คำานวณโดยหารคะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับด้วยตัวเลขจำานวนหนึ่งที่เรียงลำาดับกัน

                            ขึ้นไป พรรคการเมืองที่มีคะแนนเหลือสูงสุดในการหารแต่ละครั้งจะได้รับการจัดสรรที่นั่ง ตาราง

                            ข้างล่างแสดงการจัดสรรที่นั่งภายใต้การคำานวณแบบด๊องต์ โดยนำาคะแนนที่พรรคได้รับเลือกตั้ง
                            มาหารด้วยเลข 1, 2, 3, 4, 5…….. เรียงลำาดับไป เมื่อหารด้วย 1 ที่นั่งแรกจะถูกจัดสรรให้
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41