Page 32 - kpiebook63012
P. 32
32 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา
Plurality Systems หนึ่งเขต หนึ่งคน
ไทย ก่อนการใช้
หนึ่งเขต หลายคน รัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ.
2540 และภายใต้
รัฐธรรมนูญ 2550
ภาพที่ 2 ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากธรรมดา
ที่มา สิริพรรณ นกสวน, 2558, น.102
ระบบเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากธรรมดาที่พบเห็นเป็นส่วนใหญ่ใช้ควบคู่กับเขตเลือกตั้งที่มีตัวแทน
ได้หนึ่งคน (Single-Member District/Constituency) มีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า 1 เขต 1 คน ประเทศ
ที่ใช้ระบบเลือกตั้งแบบนี้ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ เป็นต้น ในการเลือกตั้ง
ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ระบบเสียงข้างมากใช้ควบคู่กับระบบ “คณะผู้เลือกตั้ง” (Electoral college)
ซึ่งคัดเลือกมาจากตัวแทนของแต่ละมลรัฐ ผู้สมัครที่ชนะในมลรัฐหนึ่ง ๆ คือผู้ที่ได้คะแนนเสียง popular vote
มากที่สุดเมื่อรวมคะแนนจากทุกเขตเลือกตั้ง โดยไม่จำาเป็นต้องได้คะแนนเสียงเกิน 50% ผู้ชนะจะได้คะแนนของ
คณะผู้เลือกตั้งทั้งหมดในมลรัฐนั้น ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า “Winner takes all”
มีบางกรณีที่ระบบเสียงข้างมากธรรมดาใช้คู่กับเขตเลือกตั้งที่มีตัวแทนได้หลายคน ตัวอย่างเช่น ระบบ
เลือกตั้งของไทยก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 ถือว่าเป็นระบบเลือกตั้งที่แตกต่างไปจากประเทศ
ส่วนใหญ่ในโลก เพราะเป็นระบบเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากธรรมดาที่ในเขตเลือกตั้งมีตัวแทนแตกต่างกันตั้งแต่
1 คน ถึง 3 คน (Multi-Member Districts หรือ Block Vote) ขึ้นอยู่กับจำานวนประชากรในเขตนั้น ผู้ใช้สิทธิ
หนึ่งคนมีสิทธิออกเสียงได้ตามจำานวนตัวแทนที่เขตพึงมี (1 – 3 เสียง) โดยอาจเลือกที่จะใช้สิทธิ 1, 2 หรือ 3 เสียง
ก็ได้ และสามารถแยกลงคะแนนให้ผู้สมัครที่มาจากคนละพรรคก็ได้เช่นกัน ข้อดีคือ ประชาชนมีอิสระเต็มที่
ในการเลือกที่จะลงคะแนนให้ผู้สมัครคนใดก็ได้ และยังเปิดให้มีผู้สมัครอิสระได้ ในระบบที่พรรคการเมืองเข้มแข็ง
และมีเอกภาพ (Party Cohesion) ประชาชนมีแนวโน้มที่จะเลือกผู้สมัครจากพรรคเดียวกันทั้งหมด ที่เรียกว่า
“ยกทีม”แต่ในประเทศไทยระบบนี้ได้ทำาให้เกิดระบบพรรคการเมืองหลายพรรค เพราะประชาชนเลือกตาม
ความนิยมที่มีพื้นฐานอยู่บนตัวบุคคลไม่ใช่พรรค ชื่อเสียง อุดมการณ์ และนโยบายพื้นฐานของพรรคมีความสำาคัญ
ไม่มากนักต่อชัยชนะในการเลือกตั้ง ข้อสังเกตที่สำาคัญในระบบเลือกตั้งแบบนี้ของไทยคือ ส่งผลให้พรรคการเมือง
แตกแยก แบ่งเป็นกลุ่มและมุ้งการเมือง (Faction) เนื่องจากผู้สมัครจากพรรคเดียวกันแข่งขันกันเอง (Intra party
competition)