Page 27 - kpiebook63012
P. 27

27








                          นักรัฐศาสตร์ที่ผูกโยงการเลือกตั้งกับประชาธิปไตยที่ชัดเจนที่สุดท่านหนึ่ง คือ Robert A. Dahl

                  ในคุณลักษณะที่จำาเป็น 8 ประการของระบอบประชาธิปไตยที่ Dahl นำาเสนอ 4 ประการ สะท้อนความจำาเป็น
                  โดยตรงที่ต้องมีการเลือกตั้ง (ลำาดับไม่ได้บ่งบอกความสำาคัญมากน้อย) ได้แก่


                          1.  สิทธิในการเลือกตั้ง (right to vote)

                          2.  สิทธิที่จะมีการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม (free and fair elections)


                          3.  สิทธิที่ชนชั้นนำาทางการเมืองจะแข่งขันเพื่อแสวงหาคะแนนเสียงสนับสนุน (right of political
                              leaders to compete for support and votes)


                          4.  สิทธิตามกติกาที่จะแข่งขันเพื่อชิงตำาแหน่งสาธารณะ (eligibility for public office)


                          5.  เสรีภาพในการรวมกลุ่มและจัดตั้งองค์กร (free to form and join organizations)

                          6.  เสรีภาพในการแสดงออก (freedom of expression)


                          7.  สามารถเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลาย ไม่มีการกำาจัดหรือผูกขาดแหล่งข้อมูล (alternative sources
                              of information)


                          8.  มีสถาบันการเมืองที่กำากับให้นโยบายของรัฐบาลมาจากและสะท้อนความพึงพอใจของผู้ออกเสียง
                              เลือกตั้ง (institutions for making government policies depend on votes and other

                              expressions of preference)


                          คุณสมบัติ 4 ประการหลัง แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งโดยตรง แต่สัมพันธ์กับโครงสร้างและ
                  อณูสังคมที่เปิดให้การแข่งขันเข้าสู่ตำาแหน่งทางการเมืองเกิดขึ้นในบรรยากาศแข่งขันอย่างเสรี (liberalization)

                  ซึ่งล้วนสำาคัญและจำาเป็นในการเอื้อให้การเลือกตั้งมีความหมายเกิดขึ้นได้จริงและดำารงอยู่อย่างยั่งยืน ข้อเสนอ
                  ของ Dahl ชัดเจนว่าการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าร่วมมากที่สุด โดยไม่มีการกีดกัน (inclusiveness)

                  เป็นสัญลักษณ์ที่สำาคัญประการหนึ่งของการเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วม ต้องไม่สร้างเกณฑ์กติกาขึ้นมากีดกัน
                  คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่นในอดีต บางประเทศไม่อนุญาตให้คนผิวสีเลือกตั้งได้ หรือในบางประเทศ เพศหญิง

                  เพิ่งได้รับสิทธิในการเลือกตั้งที่เรียกว่าการขยายสิทธิเลือกตั้งเป็นการทั่วไป (enfranchisement)

                          ในสังคมไทยนั้น หลักการว่าด้วยการเลือกตั้งต้องเสรี เป็นธรรม และยุติธรรมได้รับการกล่าวถึงอยู่เสมอ

                  เป็นที่รับรู้และยอมรับในเชิงอุดมคติ แต่สาธารณะมักหลงลืมไปว่าหลักการดังกล่าวมีที่มาและเชื่อมโยง

                  อย่างใกล้ชิดกับความเป็นประชาธิปไตย กล่าวอีกนัยหนึ่งการเลือกตั้งที่เสรี เป็นธรรม ยุติธรรม และเป็นความลับ
                  จะเกิดขึ้นได้ยากในสังคมที่ไม่เปิดให้การแข่งขันเพื่อช่วงชิงตำาแหน่งทางการเมืองเป็นไปโดยเสรี ภายใต้โครงสร้าง
                  ทางการเมืองของระบอบอำานาจที่ไม่ยอมให้ประชารวมกลุ่ม การจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นเรื่องต้องห้าม หรือ

                  สิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้งถูกจำากัดโดยกฎหมายที่ใช้อคติเป็นฐานที่มั่น การเลือกตั้งย่อมไม่อาจนำาพาไปสู่

                  ประชาธิปไตย
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32