Page 29 - kpiebook63012
P. 29

29








                  ประมาณ 900 ล้านคน การเลือกตั้งในเกาหลีเหนือมีขึ้นทุก ๆ 4-5 ปี เพื่อเลือกสภาประชาชนสูงสุด (Supreme

                  People’s Assembly) ที่พรรคแรงงานเกาหลี (Worker’s Party of Korea) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพรรคแนวร่วม
                  Democratic Front for the Reunification of the Fatherland ชนะเลือกตั้งทุกครั้ง ประธานาธิบดี 3 คน

                  คือ Kim Il-sung บุตรชาย Kim Jong-il และหลานชาย Kim Jong-un สืบทอดกันโดยสายเลือด การเลือกตั้ง
                  ในประเทศจีนและเกาหลีเหนือเป็นตัวอย่างที่ดีของการเลือกตั้งที่ไม่สะท้อนหลักการประชาธิปไตย เนื่องจาก

                  ขาดคุณสมบัติสำาคัญ 2 ประการเป็นอย่างน้อย คือ


                          1.  ต้องโปร่งใส (transparency) ระบบเลือกตั้งจะได้รับความชอบธรรมจากสาธารณชนได้
                              จะต้องเปิดเผย โปร่งใส สามารถรับรู้เข้าใจได้ร่วมกันโดยทั่วไปถึงขั้นตอน กระบวนการลงคะแนน

                              การนับคะแนน และการคำานวณผลลัพธ์


                          2.  ได้ “ตัวแทน” (representation) ตรงตามเจตนารมณ์ของประชาชนที่ไปลงคะแนนเลือก กล่าวคือ
                              การแปรคะแนนเสียงให้เป็นที่นั่งในสภาก็เพื่อให้ได้ตัวแทนที่ประชาชนต้องการ สามารถ “แทน”
                              ประชาชนในเชิงอัตลักษณ์ในมิติต่าง ๆ ได้ และทำาหน้าที่ “แทน” ประชาชนในรัฐสภาและรัฐบาล

                              แนวคิดเรื่องการเป็นตัวแทนไม่ได้มีเพียงมุมมองเดียว การได้มาซึ่งตัวแทนที่เหมาะสมมีแง่มุม

                              หลายประการ เช่น ตัวแทนในเชิงภูมิศาสตร์ ตัวแทนในเชิงอุดมการณ์ ตัวแทนกลุ่มอาชีพ หรือ
                              ตัวแทนเชิงวัฒนธรรม

                          2.1.3 องค์ประกอบของกำรเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม



                          ความสำาคัญของการเลือกตั้งไม่ใช่การไปกากบาทในช่องสี่เหลี่ยม แต่มันคือเสรีภาพในการขับเคลื่อน
                  พลังของประชาชนที่การเลือกตั้งได้สร้างขึ้นมา การที่ประชาชนทั่วพื้นที่ของประเทศได้แสดงพลังทางการเมือง

                  ในการเข้าร่วมกิจกรรม ตั้งแต่การสนทนาแลกเปลี่ยน การรวมกลุ่ม การแสดงออกซึ่งความปรารถนา ความใฝ่ฝัน
                  ความหวัง และความต้องการอย่างเปิดเผย การขับเคลื่อนทางการเมืองอย่างเสรีของประชาชนนี่เองที่จะ

                  กลายเป็นหลักสำาคัญในอนาคต อาจสำาคัญกว่าผลการเลือกตั้งเสียด้วยซำ้า


                          ดังแสดงไปแล้วข้างต้น การเลือกตั้งเป็นเหมือนคู่แฝดกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย กล่าวได้ว่า
                  ระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่เกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่มีการเลือกตั้ง ทั้งนี้ เพราะการเลือกตั้งมีความสำาคัญ คือ


                          1.  เป็นกลไกสรรหาตัวแทนของประชาชนเข้าไปทำาหน้าที่ในสภา


                          2.  เป็นเครื่องมือของประชาชนในการส่งผ่านข้อเรียกร้องและความต้องการ (ที่เป็นกลุ่มก้อน
                              มากกว่าความต้องการเดี่ยว) เข้าสู่ระบบการเมือง


                          3.  เป็นกลไกเชื่อมโยงระหว่างประชาชนกับผู้ปกครองในเชิงสัญลักษณ์ เป็นเครื่องมือให้ประชาชน

                              รู้สึกว่ามีตัวตน และสามารถควบคุมตัวแทนโดยการเลือกหรือไม่เลือกในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

                              ในขณะเดียวกันก็สร้างความชอบธรรมให้ผู้ปกครอง
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34