Page 31 - kpiebook63012
P. 31
31
จะเห็นได้ว่า การเลือกตั้งที่เป็นอิสระและเป็นธรรม จัดขึ้นเป็นประจำาโดยสมำ่าเสมอ เป็นเงื่อนไขที่ขาด
ไม่ได้ในระบอบประชาธิปไตย ถ้าปราศจากหลักการดังกล่าวแล้ว ต่อให้ระบบการเมืองมีการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
ในด้านอื่น ๆ อย่างไรก็ไม่อาจจัดได้ว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่กระนั้น คุณภาพของระบอบประชาธิปไตย
หาได้ขึ้นอยู่กับการเลือกตั้งแต่เพียงอย่างเดียวไม่ สรุปก็คือ การเลือกตั้งเป็นเงื่อนไขและกระบวนการที่จำาเป็น
(necessary) แต่ยังไม่เพียงพอ (sufficient) ต่อการเป็นประชาธิปไตย ดังนั้น ต้องไม่ลืมว่า ในระบอบประชาธิปไตย
ประชาชนต้องมีสิทธิที่สำาคัญอื่น ๆ และมีหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบการทำางานของตัวแทนที่ตนได้เลือกตั้งไป
เพราะการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวไม่ได้เป็นหลักประกันว่า “ตัวแทน” ที่ประชาชนได้เลือกแล้วจะรักษาเจตจำานง
และปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและประชาชนทั่วไปแต่อย่างใด
2.1.4 ระบบกำรเลือกตั้ง
ทฤษฎีรัฐศาสตร์การเมืองเปรียบเทียบให้ความสำาคัญกับระบบเลือกตั้งว่าเป็นทั้งตัวแปรตาม
(Dependent Variable) และตัวแปรต้นหรือตัวแปลอิสระ (Independent Variable) ในการวิจัย นักรัฐศาสตร์
ส่วนใหญ่มองว่าระบบเลือกตั้งเป็นตัวแปรตาม เนื่องจากถูกกำาหนดโดยนักการเมืองและผู้ร่างกฎหมายเลือกตั้ง
แต่ระบบเลือกตั้งที่ถูกกำาหนดขึ้นมานั้นสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมของนักการเมือง ระบบพรรคการเมืองและ
การจัดทำายุทธศาสตร์ของพรรคการเมืองอย่างมีนัยสำาคัญ ในประการหลังนี้เองจึงกล่าวได้ว่าระบบเลือกตั้งเป็น
ตัวแปรต้นของระบบการเมืองด้วย (สิริพรรณ นกสวน, 2558, น. 103-116)
ระบบเลือกตั้งโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้
1) ระบบเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากธรรมดา (Plurality System) หรือ “First Past the Post”
(FPTP)
กล่าวคือ ใครผ่านด่านเป็นคนแรกหรือได้คะแนนมากที่สุดก็จะได้เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งเป็นระบบที่ง่าย
ที่สุดในกระบวนการทั้งหมดนั้นคือ ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนสูงสุดเป็นผู้ชนะไม่ว่าจะได้คะแนนเท่าไหร่ก็ตาม เช่น
ในเขตเลือกตั้งหนึ่งมีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 100 คน มีผู้ได้คะแนนเรียงกัน ดังนี้ : 35 : 34 : 31 ผู้ที่ได้รับคะแนนเสียง
สูงสุดคือ 35 คะแนน จะเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง ทั้ง ๆ ที่ได้รับคะแนนเสียงมากกว่าผู้ที่ได้อันดับสองคือ 34 คะแนน
เพียง 1 คะแนน ยิ่งไปกว่านั้นหากพิจารณาดี ๆ จะเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่มากถึง 65 คะแนนเสียงไม่ได้เลือก
ผู้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งอาจทำาให้เกิดคำาถามเรื่องความชอบธรรมของผู้ชนะได้