Page 26 - kpiebook63012
P. 26
26 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา
2.1 กำรเลือกตั้งและระบบกำรเลือกตั้ง
2.1.1 ควำมหมำยและควำมส�ำคัญในกำรเลือกตั้ง
จันทรานุช มหากาญจนะ (2559, น. 109) ได้กล่าวถึง การเลือกตั้งว่าเป็นกลไกหลักของระบอบ
ประชาธิปไตย เพื่อเลือกตัวแทนของกลุ่มต่าง ๆ ให้เข้าไปมีอำานาจในการตัดสินใจในการจัดการทรัพยากรสาธารณะ
การเลือกตั้งเป็นกลไกที่สร้างการแข่งขันในการไปมีอำานาจทางการเมืองรวมทั้งเป็นกลไกในการเป็นระบบตรวจสอบ
ผู้ที่เข้าไปใช้อำานาจรัฐ (Political Accountability) กล่าวคือการเลือกตั้งจะเป็นกระบวนการสร้างพันธสัญญา
ระหว่างผู้ลงคะแนนเสียงว่า หากตนได้รับการเลือกตั้งและเข้าไปมีอำานาจตัดสินใจใช้ทรัพยากรแล้ว สิ่งที่พวกเขา
สัญญา จะทำาสำาเร็จนั้นมีอะไรบ้าง หากไม่สามารถบรรลุได้ตามสัญญาโอกาสที่นักการเมืองผู้นั้นจะชนะการเลือกตั้ง
ก็จะลดลงต่อไป
สิริพรรณ นกสวน สวัสดี (2560) ได้ให้คำานิยามการเลือกตั้งที่เสรี หมายถึง การที่พลเมืองที่มี
คุณสมบัติตามกำาหนดย่อมมีสิทธิเลือกตั้ง สามารถแสดงเจตจำานงหรือความต้องการได้อย่างแท้จริง มีอิสระในการ
ตัดสินเลือก (หรือเลือกที่จะไม่เลือก) ตัวแทนและพรรคการเมืองที่ตนชื่นชอบได้ โดยปราศจากความกลัวจาก
การข่มขู่ คุกคาม หรือบังคับ ละสามารถลงคะแนนได้ โดยปราศจากข้อจำากัดทางกายภาพ
2.1.2. หลักกำรพื้นฐำนของกำรเลือกตั้งในระบอบประชำธิปไตย
สิริพรรณ นกสวน สวัสดี (2560) ได้กล่าวถึงหลักการพื้นฐานของการเลือกตั้งไว้ ในปัจจุบัน ประเทศ
ส่วนใหญ่กำาหนดอายุของผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ที่ 18 ปี โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อจำากัดอื่น ๆ เช่น ต้องมีทรัพย์สิน
รายได้ อ่านและเขียนหนังสือได้ หรือสีผิว และเพศ เช่นในอดีต ยิ่งกว่านั้น การเลือกตั้งที่เสรียังรวมถึง
การลงคะแนนต้องเป็นความลับ (secret ballot) อีกด้วย ประเด็นเรื่องการลงคะแนนไม่เป็นความลับเป็นทั้ง
ข้อถกเถียงในประเทศสิงคโปร์ว่าการที่บนบัตรเลือกตั้งมีลำาดับตัวเลขเรียงตามหมายเลขผู้ออกเสียงเลือกตั้ง
(serial number) เป็นการละเมิดหลักการเรื่องการลงคะแนนต้องเป็นความลับหรือไม่
การเลือกตั้งที่เป็นธรรม คือการที่พรรคการเมืองและผู้นำาทางการเมืองมีโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน
ในการแข่งขันในตลาดการเลือกตั้ง เพื่อแสวงหาคะแนนเสียงเลือกตั้งจากความนิยมของประชาชน การแข่งขันอย่าง
เท่าเทียม เช่น เปิดให้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งพรรคการเมือง การประชุมพบปะ และการรณรงค์หาเสียงเพื่อโน้มน้าว
ให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนให้ การเลือกตั้งที่เป็นธรรม รวมถึงการที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีโอกาสเข้าถึงกระบวนการ
เลือกตั้ง คะแนนเสียงของผู้เลือกตั้งทุกคนมีค่าและมีความหมายเสมอเหมือนกัน บนพื้นฐานของความเท่าเทียม
(equal right to vote) มีการจัดให้เลือกตั้งอย่างสมำ่าเสมอ ในระยะเวลาที่กำาหนดไว้อย่างชัดเจน และสุดท้าย
ผลเลือกตั้งสะท้อนเจตจำานงและความต้องการของประชาชน มาตรการหนึ่งเพื่อสร้างความมั่นใจว่า การเลือกตั้ง
ดำาเนินไปอย่างเสรีและเป็นธรรม คือ การยอมให้หน่วยงานที่เป็นอิสระหรือองค์การระหว่างประเทศเข้าร่วม
สังเกตการณ์ได้