Page 48 - kpiebook63012
P. 48
48 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา
ไปใช้คิดจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ แต่เหตุผลดังกล่าวจะนำามาเป็นสาระสำาคัญไม่ได้
เพราะหลักของการเลือกตั้งอยู่ที่คะแนนการเลือกตั้งจะต้องสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนอย่างแท้จริง
และสำาหรับโจทย์ที่ระบุว่า เพื่อเป็นการช่วยพรรคเล็ก พบว่าไม่จริง เพราะการจะได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ พรรคการเมืองต้องส่งผู้สมัครครบทุกเขตเลือกตั้ง เพื่อจะได้มีคะแนนที่แพ้นำามาคิดปันส่วน
แต่จากข้อเท็จจริง มีเพียง 2 พรรคใหญ่ อย่างประชาธิปัตย์และเพื่อไทยเท่านั้นที่ส่งครบทุกเขตได้ ส่วนพรรค
ขนาดกลางอย่างชาติไทยพัฒนาหรือภูมิใจไทยก็ยังส่งไม่ครบ ส่วนพรรคเล็กแน่นอนว่าไม่มีศักยภาพพอที่จะส่ง
ครบทุกเขตได้ ดังนั้น พรรคเล็กแทบจะไม่มีคะแนนบัญชีรายชื่อ
คณิน บุญสุวรรณ (2558) อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ปี 2540 โดยกล่าวสรุปข้อเสีย
ของการเลือกตั้งแบบกาบัตรใบเดียวไว้ 10 ประการ ดังนี้ 1. ไม่เป็นธรรมต่อประชาชน เพราะในขณะที่สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรมี 2 ประเภท แต่กลับให้ประชาชนมีสิทธิเลือกได้เพียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต
เลือกตั้งเท่านั้น ซึ่งเท่ากับเป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์ในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน พูดง่าย ๆ คือ
มัดมือชกนั่นเอง 2. เป็นการรอนสิทธิหรือบังคับจิตใจของประชาชนมิให้ “เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ”
จึงทำาให้ประชาชนมีสภาพเหมือนถูก “ขโมย” สิทธิที่จะลงคะแนนเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
3. ทำาให้พรรคที่ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งมีจำานวนมากเท่าไร โอกาสที่จะได้ที่นั่ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อก็ลดน้อยลงเท่านั้น ซึ่งสวนทางกับความเป็นจริง 4. ทำาให้เป็นการยากที่
พรรคใดพรรคหนึ่งจะครองเสียงข้างมากอย่างเด็ดขาดในสภาที่จะเป็นแกนนำาในการจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพได้
5. ทำาให้พรรคการเมืองที่มีที่นั่งมากที่สุดในสภาอาจถูกผลักให้เป็นฝ่ายค้าน โดยพรรคอันดับสองและพรรค
ที่เหลือทั้งหมดจับมือกัน ซึ่งขัดแย้งกับหลักการปกครองโดยเสียงข้างมาก “Majority rule” 6. เปิดช่องให้มี
นายกรัฐมนตรีคนนอกและรัฐบาลผสมที่พรรคอันดับหนึ่งไม่ได้เป็นรัฐบาลซึ่งกระทบต่อภาพลักษณ์และ
ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลก ตลอดจนความไม่เชื่อมั่นในเสถียรภาพของรัฐบาล 7. ทำาให้เกิดรัฐบาล
ผสมที่อ่อนแอและตกอยู่ในวังวนของการแย่งชิง กดดัน ต่อรองตำาแหน่ง และผลประโยชน์จนผู้นำารัฐบาลทนต่อ
แรงเสียดทานไม่ไหว ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนนอก หรือ นายกรัฐมนตรีที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ยิ่งถ้าเป็นนายกรัฐมนตรีคนนอกยิ่งจะโดนกดดันอย่างหนักจากพรรคร่วมรัฐบาล 8. ทำาให้พรรคการเมืองอ่อนแอ
และแตกแยกจากปัจจัยที่นอกจากจะต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีได้ถึง 3 คน และแย่งกันอยู่ในบัญชีรายชื่อ
ลำาดับต้น ๆ แล้ว ยังทำาให้ขาดแรงจูงใจและเกี่ยงงอนกันหาคะแนนนิยมให้กับผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบแบ่งเขตเลือกตั้งของพรรคอีกด้วย 9. ขัดแย้งกับการโฆษณาชวนเชื่อของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่ว่า
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ส่งเสริมให้คนดีเข้าสู่สภา เพราะโอกาสของคนดีที่จะเข้าสู่สภาโดยผ่านทางบัญชีรายชื่อ
แทบจะเป็นศูนย์ 10. เปิดช่องให้พรรคขนาดกลางเนื้อหอมจนบรรดานายทุนแย่งกันประมูลซื้อพรรค และเป็น
นายทุนให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเอาเงินไปซื้อเสียง
ดังนั้น จะเห็นว่าระบบการเลือกตั้งภายใจ้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีประเด็น
ที่น่าพิจารณาในหลายมิติ ทั้งเจตนารมณ์ของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ความได้เปรียบในการเลือกตั้งของทั้ง
พรรคการเมืองขนาดใหญ่และขนาดเล็ก พฤติกรรมในการหาเสียงเลือกตั้ง และการมีนายกรัฐมนตรีคนนอก เป็นต้น