Page 55 - kpiebook63012
P. 55

55






                           5) การแบ่งหัวคะแนนตามระดับและโครงสร้างของหัวคะแนน แบ่งออกเป็น


                            5.1)  หัวคะแนนระดับจังหวัด ได้แก่ หัวคะแนนที่มีฐานคะแนนเสียงในระดับจังหวัด ถือเป็น

                                หัวคะแนนที่มีฐานะสูงสุด เป็นผู้ที่มีประสบการณ์และคุ้นเคยกับการหาเสียงเลือกตั้งเป็นอย่างดี
                                หัวคะแนนระดับนี้อาจมีเครือข่ายหัวคะแนน หรือฐานเสียงเป็นลำาดับชั้นลงมาจนถึงฐานคะแนนเสียง

                                ระดับตำ่าสุด


                           5.2)   หัวคะแนนระดับอำาเภอ ได้แก่ หัวคะแนนที่ควบคุมฐานคะแนนเสียงในระดับอำาเภอ มีฐานะ
                                รองจากหัวคะแนนระดับจังหวัด ทำาหน้าที่ในการประสานระหว่างผู้สมัครกับหัวคะแนน

                                ระดับตำ่ากว่า หัวคะแนนระดับอำาเภออาจมีเครือข่ายเชื่อมโยงกับหัวคะแนนระดับตำาบลและ
                                หัวคะแนนระดับหมู่บ้านโดยตรง


                           5.3)   หัวคะแนนระดับตำาบล ได้แก่ หัวคะแนนที่ควบคุมฐานคะแนนเสียงในระดับตำาบล ทำาหน้าที่

                                ในการประสานกับหัวคะแนนในระดับหมู่บ้านและระดับอำาเภอ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ได้รับ
                                ความเคารพนับถือจากชาวบ้าน


                           5.4)   หัวคะแนนระดับคุ้มหรือกลุ่มบ้าน ได้แก่ บางหมู่บ้านจะมีการตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่ม ๆ ตาม
                                ความสัมพันธ์ทางเครือญาติหรือพื้นเพดั้งเดิม ในกรณีที่หัวคะแนนระดับหมู่บ้านไม่สามารถ

                                ทำางานได้ครอบคลุมทั่วทั้งหมู่บ้าน ผู้สมัครต้องหาหัวคะแนนระดับคุ้ม เช่น กลุ่มเครือญาติ
                                กลุ่มพวกพ้อง เป็นต้น เพื่อทำาให้คะแนนเสียงของผู้สมัครมีความเสถียรมากขึ้น


                          อย่างไรก็ตาม โครงสร้างระดับต่าง ๆ ของหัวคะแนนในความเป็นจริงมิได้มีสภาพเป็นเครือข่าย

                  เชื่อมโยงเป็นช่วงชั้นเสมอไป บางครั้งก็มีความสัมพันธ์เชื่อมประสานโดยตรงกับผู้สมัคร การที่จะกล่าวว่า
                  หัวคะแนนอยู่ในระดับใดขึ้นอยู่กับฐานคะแนนเสียงที่มีอยู่เป็นสำาคัญ


                          นอกจากนี้ เพิ่มพงศ์และศรีสมภพ (2551, ... อ้างถึงใน สุรชัย ตั้งมกรา. 2556, น.17) ได้แบ่งหน้าที่

                  ของหัวคะแนนออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนก่อนวันเลือกตั้ง ขั้นตอนวันเลือกตั้ง และขั้นตอนภายหลังเลือกตั้ง


                          ขั้นตอนก่อนวันเลือกตั้ง หัวคะแนนมีหน้าที่ดังนี้


                          1.  การประชาสัมพันธ์ในทางหลักการ การประชาสัมพันธ์ของหัวคะแนนในระยะนี้คือ การโฆษณา
                              ให้ผู้ลงคะแนนทราบประวัติ การศึกษา การทำางาน ประสบการณ์และนโยบายของผู้สมัคร

                              เพื่อให้ผู้ลงคะแนนเกิดความรู้สึกพึงพอใจและพร้อมลงคะแนนให้แก่ผู้สมัคร


                          2.  การสำารวจข้อมูลพื้นฐานของท้องที่ เช่น สภาพท้องถิ่น ความนิยม ทัศนคติ ความต้องการของชุมชน
                              จำานวนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง พร้อมเลขที่บัตรประจำาตัวประชาชนของบุคคลเหล่านั้น เป็นต้น
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60