Page 64 - kpiebook63012
P. 64
64 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา
3.2 ประชำกร และกลุ่มตัวอย่ำง
กลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้
ความน่าจะเป็น แบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย
1) ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา ในเขตเลือกตั้งที่ 1, 2 และ 3 รวมทั้งสิ้น
6 คน โดยแบ่งเป็น
ก. ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยาของพรรคการเมืองเดิม เขตละ 1 คน
ข. ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยาของพรรคการเมืองใหม่ เขตละ 1 คน
2) ประชาชน หมายถึงผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งฯ ในจังหวัดพะเยา เขตเลือกตั้งที่ 1, 2 และ 3 ในจังหวัด
พะเยา โดยแบ่งตามสัดส่วนลักษณะประชากรศาสตร์กลุ่มละ 2 คน ในแต่ละเขตเลือกตั้ง รวมทั้งสิ้นคน 24 คน
ประกอบด้วย
ก. ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง อายุ 18 – 22 ปี (ประสบการณ์การเลือกตั้งครั้งแรก)
ข. ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง อายุ 23 – 35 ปี (ประสบการณ์การเลือกตั้ง 1 - 4 ครั้ง)
ค. ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง อายุ 36 – 59 ปี (ประสบการณ์การเลือกตั้งเกิน 4 ครั้งขึ้นไป)
ง. ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง อายุ 60 ปีขึ้นไป
3) ตัวแทนภาคประชาสังคมกลุ่มทางการเมืองในจังหวัดพะเยา
4) ผู้นำาท้องที่ และ ท้องถิ่น จากเขตเลือกตั้งละ 1 คน
5) หน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา