Page 67 - kpiebook63012
P. 67
67
การศึกษารูปแบบ วิธีการ และผลกระทบต่อการเลือกตั้ง ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ กรณีศึกษา:
จังหวัดพะเยา เพื่อศึกษาบริบท และ สถานการณ์ทางการเมืองของจังหวัดพะเยา ช่วงก่อน ระหว่าง และหลัง
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา รวมถึงศึกษารูปแบบ วิธีการ และผลกระทบการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ประชาชน ภาคประชาสังคม กลุ่มทางการเมือง
ผู้นำาท้องที่และท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ องค์กรสาธารณะ และองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง
โดยได้มีการศึกษาในช่วงระยะเวลาก่อนการเลือกตั้ง ระหว่างการมีพระราชกฤษฎีกำาหนดการเลือกตั้ง
วันเลือกตั้ง จนถึงประมาณหนึ่งเดือนภายหลังจากคณะกรรมการเลือกตั้งประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง
อย่างเป็นทางการในจังหวัดพะเยา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบคุณภาพ จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์
เชิงลึกกับกลุ่มประชากร และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาสามารถแบ่งเป็น
ประเด็นตามวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้
1) ช่วงก่อนการเลือกตั้ง (ก่อนพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็น
การทั่วไป พ.ศ. 2562)
• บริบท สถานการณ์ทางการเมืองของจังหวัดพะเยา ช่วงก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดพะเยา พ.ศ. 2562
2) ระหว่างการเลือกตั้ง (ช่วงระยะเวลาพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562)
• บริบท สถานการณ์ทางการเมืองของจังหวัดพะเยา การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดพะเยา ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
• รูปแบบ วิธีการ และผลกระทบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา ของผู้สมัคร
รับเลือกตั้ง ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
• รูปแบบ วิธีการ และผลกระทบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา ของประชาชน
ภาคประชาสังคม และกลุ่มทางการเมือง ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2560