Page 117 - kpiebook63011
P. 117

117








                  จังหวัดเชียงใหม่ แต่คนในพรรคเพื่อไทยไม่มีความกังวลใด เพราะผู้สมัครเขต 3 ทำางานการเมืองกับพรรคมา

                  อย่างยาวนาน และที่สำาคัญ พื้นที่เขต 3 เป็นพื้นที่ฐานคะแนนเสียงหลักของตระกูลชินวัตรเดิมอีกด้วย


                          ในขณะที่พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามคือ พรรคพลังประชารัฐก็มีการใช้วิธีการสำารวจความคิดเห็น
                  และความนิยมของประชาชนเช่นกัน เพื่อจะได้หาเสียงเจาะพื้นที่ที่ฐานคะแนนอ่อน จากการสัมภาษณ์ผู้สมัคร

                  พรรคพลังประชารัฐ ได้กล่าวว่า “การท�าโพลกลายเป็นเรื่องส�าคัญ พี่อยากท�าโพลแต่ที่จริงพรรคก็ส่งคนมาท�า
                  แต่เราก็ต้องท�าของเราด้วยและท�าเป็นระยะเพื่อเอาไปยืนยันกับพรรค โดยเฉพาะช่วงของการที่พรรคก�าลัง

                  เลือกตัวแทนพรรคลงสมัคร การมีตัวเลขพวกนี้ในมือจะช่วยท�าให้พรรคมั่นใจขึ้นมาถ้าเลือกเราโอกาสชนะมี
                  แต่การท�าโพลใช้เงินเป็นแสนนะ เราก็ต้องหาของเราเอง” (สัมภาษณ์ผู้สมัครรับเลือกตั้งพรรคพลังประชารัฐ

                  จังหวัดเชียงใหม่ 20 มกราคม 2562)


                          ในการคัดเลือกผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐ แม้ตามกฎหมายแล้วในตอนแรกจะให้มีการทำา Primary
                  Vote และถูกยกเลิกไปตามคำาสั่งของ คสช. แต่พรรคยังมีสิ่งที่เรียกว่า Mini Primary Vote คือ การคัดสรรที่มี
                  รายละเอียดขั้นตอน ไม่ใช่เพียงแค่มีทุนทรัพย์และชื่อเสียงเท่านั้นที่จะสามารถเสนอตัวเป็นผู้สมัคร ส.ส.ในนาม

                  พรรคได้ แต่พรรคจะมีการประชุมคณะกรรมการคัดสรร แล้วเสนอชื่อมาจำานวนหนึ่งเพื่อส่งให้สาขาพรรคเอาไป

                  ถามความคิดเห็น แต่ในทางปฏิบัติมีการแบ่งโซนการจัดการเลือกตั้งของพรรคตามภาคและมีแกนนำาภาค
                                17
                  เพื่อรวบรวมเก็บข้อมูลในพื้นที่เพื่อนำาไปแจ้งพรรคประกอบการพิจารณาเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตต่าง ๆ
                  พรรคจะมีการทำาโพล (Poll) เพื่อวัดฐานเสียงจากพรรค “พรรคท�าโพลดูคะแนนความนิยมของคนที่จะมา

                  เป็นตัวแทน แต่เราก็อยากท�าโพลของเราด้วยเพราะเราก็ไม่รู้ว่าที่พรรคท�ามันแน่นอนหรือเปล่า เพราะมันก็มี

                  การแข่งขันกัน คนในพื้นที่จะรู้ แต่โพลก็ราคาแพงมาก มันต้องมาเป็นค่าใช้จ่ายของเรา ท�าโพลครั้งหนึ่งอย่างดี
                  ก็เกือบ 200,000 บาท” (สัมภาษณ์ผู้สมัครรับเลือกตั้งพรรคพลังประชารัฐ จังหวัดเชียงใหม่ 20 มกราคม 2562)
                  จากข้อมูลการสัมภาษณ์พรรคพลังประชารัฐมีการแยกกลุ่มผู้สมัคร ส.ส.เป็นกลุ่ม ๆ และเป็นประเภท ซึ่งมีผลต่อ

                  การให้เงินสนับสนุน การช่วยเหลือจากทีมส่วนกลาง ตลอดจนผู้บริหารของพรรคในการมาลงพื้นที่ช่วยหาเสียง


                          พรรคอนาคตใหม่เป็นพรรคการเมืองใหม่ และต้องการสร้างภาพลักษณ์ของความใหม่และเปลี่ยนแปลง

                  สิ่งเดิม แนวทางหลักในการคัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้งเลยเป็นการเลือกคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการเป็น
                  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาก่อน การใช้ระบบการสรรหาผู้สมัครด้วยระบบการเลือกตั้งขั้นต้น (Primary Vote)
                  ด้วยการจัดทำาระบบการลงคะแนนเลือกตัวแทนผ่านระบบออนไลน์ โดยต้องเป็นสมาชิกในจังหวัดนั้น ๆ ส่งผู้สมัคร

                  รับเลือกตั้งที่ผ่านระบบการคัดสรรของพรรคด้วยการทำาระบบการคัดกรองเบื้องต้น โดยผู้สมัครทั้งหมดเคยมี

                  ประสบการณ์การทำางานในพื้นที่ชุมชน เขตเลือกตั้งของตนเองมาก่อน แต่ไม่เคยมีประสบการณ์การลงสมัคร
                  รับเลือกตั้ง ส.ส. การที่พรรคอนาคตใหม่นำาระบบ Primary Vote มาใช้นั้น โดยหลักการพื้นฐานของระบบ Primary
                  Vote ในทางทฤษฎีคือ การส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งไม่ให้ตกอยู่ภายใต้โครงสร้าง

                  ระบบอุปถัมภ์และชนชั้นภายในพรรคการเมือง ที่สำาคัญเป็นการให้บทบาทในฐานะเจ้าของพรรคร่วมกันของ


                  17   จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลของพรรคพลังประชารัฐบอกว่ามีการเสนอชื่อจากคณะกรรมการสรรหาส่วนกลางทั้งหมด
                  11 ชื่อ ซึ่งไม่ได้รับการเปิดเผย
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122