Page 112 - kpiebook63011
P. 112

112   การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่








             รับเลือกตั้งของพรรคมากกว่า เฟสบุ๊คที่มีความเป็นทางการ (Official Fan Page) ใช้เพื่อการเลือกตั้ง

             ผู้สมัครรับเลือกตั้งบางคนจะมีเฟสบุ๊ค 2 บัญชี คือ บัญชีส่วนตัว กับบัญชีทางการที่ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร
             นำาเสนอข้อมูล ความคิดเห็น และกิจกรรมของผู้สมัครเป็นหลัก ข้อมูลทั้งหมดจากการสัมภาษณ์ในประเด็นนี้

             ชี้ไปทางเดียวกันคือ สื่อออนไลน์ และ Social Media มีความสำาคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ต่อการเข้าถึงผู้ลงคะแนน
             เสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก


                      ผู้สมัคร ส.ส. พรรคอนาคตใหม่เชื่อว่า กลยุทธ์การหาเสียงเลือกตั้งที่สำาคัญยังคงเป็นเรื่องของ

             การเดินหาเสียง แม้ผู้บริหารของพรรคอนาคตใหม่จะให้โจทย์ผู้สมัครรับเลือกตั้งว่าให้ไปหาวิธีการหาเสียงที่แตกต่าง
             ออกไป แต่คิดว่าวิธีการใหม่ที่ดึงดูดหรือสร้างความสนใจอาจไม่เหมาะกับสภาพพื้นที่ของเชียงใหม่ที่ยังมี

             ความเข้มแข็งของวิถีวัฒนธรรมของผู้คนอยู่ โดยเฉพาะคนที่ถือเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ พรรคใหม่ การไปพบหน้า เคาะตาม
             ประตูบ้านทำาให้ผู้ลงคะแนนเสียงได้มีโอกาสเห็นหน้ารู้จักหน้าตาของผู้สมัคร ความจริงใจและการอ่อนน้อมต่อ

             ทุกคนที่เข้าไปพบพูดคุย วัฒนธรรมพื้นฐานของคนภาคเหนือมีส่วนในการตอกยำ้าวิธีการหาเสียงแบบนี้ที่ต้อง
             พบปะเยี่ยมเยียน โดยเฉพาะการที่ประชาชนไม่อยากได้นักการเมืองคนเดิมที่ไม่ค่อยลงพื้นที่พบปะชาวบ้าน

             ยุทธศาสตร์รองลงมาคือ รถขบวนแห่หาเสียง ที่ต้องขับกระจายไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ การได้ยินได้ฟังบ่อย ๆ ก็จะสร้าง
             ความรู้สึกคุ้นเคย ประเด็นที่น่าสนใจจากผู้สมัครของพรรคอนาคตใหม่คือ เวลาลงพื้นที่หรือเวลาหาเสียง

             ไม่พยายามเข้าไปหาผู้นำาชุมชน เพราะผู้นำาชุมชนเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นคนของพรรคการเมืองและนักการเมือง
             ที่มีฐานคะแนนเสียงเดิมหรือพรรคอื่นอยู่แล้ว และผู้นำาเหล่านี้ได้รับผลประโยชน์จากพรรคการเมืองอื่นไปแล้ว

             จึงคิดว่าต้องหาคนอื่นที่ไม่ใช่ผู้นำาท้องถิ่นมาช่วยเป็นผู้ประสานงานภายในหรือไม่ก็เข้าไปด้วยตัวเอง


                      ความได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 นี้ ในส่วนของพรรค
             พลังท้องถิ่นไทมองว่าการที่ตัวเองเป็นพรรคเล็กไม่ใช่พรรคกระแสหลักนั้น ทำาให้ได้ประโยชน์จากการกำาหนด
             กฎเกณฑ์ของ กกต. เพราะพรรคไม่ได้มีทุนทรัพย์เยอะ และไม่ได้เป็นศัตรูคู่แข่งกับพรรคที่มีอำานาจและ

             พรรคใหญ่อื่น ๆ แต่แน่นอนว่าข้อเสียเปรียบคือ การไม่ได้รับความสนใจในสื่อกระแสหลัก ดังนั้น การประชาสัมพันธ์

             จึงเน้นการใช้สื่อออนไลน์เพราะต้นทุนตำ่าและกระจายได้เร็ว สื่อไลน์และเฟสบุ๊ค เป็นช่องทางที่ดีและง่าย
             ในการเชื่อมไปสู่กลุ่มท้องถิ่นจังหวัดแต่ละจังหวัดที่มีเครือข่ายเดิมอยู่แล้ว ส่วนในระดับพื้นที่ พรรคให้แต่ละคน
             ประเมินเพื่อหาทางเลือกในการประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสม


                      จากการสัมภาษณ์ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคพลังท้องถิ่นไท จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า การหาเสียง

             ในเชียงใหม่ต้องเป็นวิธีการที่ไม่อิงสี ซึ่งหมายถึงไม่อิงกับความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างฝ่ายเสื้อเหลืองหรือ

             เสื้อแดง ให้เน้นการหาเสียงโดยการนำาเสนอนโยบายด้านการกระจายอำานาจ การกระจายโอกาสและการแก้ไข
             ปัญหาเศรษฐกิจ เป้าหมายของพรรคพลังท้องถิ่นไทคือ พรรคได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อได้มากถึง 20 คน หรือ
             ควรได้คะแนนเสียง 2.5 ล้านเสียง “ยุทธศาสตร์การหาเสียงคือ ดึงความสนใจก่อน ยังไม่ต้องไปเน้นเรื่องอื่น

             ต้องให้คนหันมาสนใจเราว่าเราแปลกใหม่” (สัมภาษณ์ผู้สมัครพรรคพลังท้องถิ่นไท ในจังหวัดภาคเหนือ

             18 มกราคม2562) ความแปลกใหม่ของพรรคพลังท้องถิ่นไทภายหลังจากการสัมภาษณ์คือ การออกแบบ
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117