Page 108 - kpiebook63011
P. 108

108   การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่








             จำานวนมาก จากฐานข้อมูลของ กกต. พบว่าในระดับประเทศมีพรรคการเมืองจำานวน 106 พรรคการเมือง

             (สำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2562) แบ่งเป็นพรรคการเมืองเดิม จำานวน 60 พรรค และ
             พรรคการเมืองใหม่ จำานวน 46 พรรค และพรรคการเมืองที่ลงสนามเลือกตั้งปี 2562 มีจำานวนทั้งสิ้น 81 พรรค

             (iLaw, 2562) พรรคการเมืองทุกพรรคจึงต้องออกหาเสียงเพื่อโกยคะแนนจากพื้นที่ให้แก่พรรคแม้จะไม่ชนะ
             ในเขตเลือกตั้งก็ตาม หรือแม้แต่ไม่ใช่เขตเลือกตั้งที่ตนเองมีฐานเสียงมาก่อน ตัวอย่างเช่น การรณรงค์หาเสียง

             เลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่แกนนำาพรรคหลายคนมาช่วยผู้สมัครรับเลือกตั้งรณรงค์
             หาเสียงบ่อยครั้ง รูปแบบการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์สามารถมองได้เป็น 2 ส่วนคือ 1) การหาเสียง

             โดยหัวหน้าหรือแกนนำาพรรคที่มาหาเสียงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) การหาเสียงของผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์
             ในจังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมของพรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดเชียงใหม่นั้น พบว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มี

             คะแนนนิยมในนามของพรรคมากนัก แต่คะแนนของพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นคะแนนที่ให้กับตัวบุคคลที่เป็น
             ผู้สมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์มากกว่า เนื่องจากผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดเชียงใหม่

             ทุกคนมีประสบการณ์เคยร่วมการทำางานการเมืองท้องถิ่นหรือทำางานกับชุมชนมาก่อน แต่มีเพียงบางคนที่เคย
             มีประสบการณ์ในการลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ประเด็นในการหาเสียงของพรรค

             ประชาธิปัตย์มองได้ 2 แนวทางหลัก คือ 1) การเน้นนโยบายรายได้กับการท่องเที่ยวของเขตเมืองเชียงใหม่และ
             2) นโยบายด้านสวัสดิการ ที่ทำากิน รวมไปถึงเรื่องเกี่ยวกับโฉนดที่ดินของเกษตรกร ซึ่งเป็นแนวนโยบายของพื้นที่

             รอบนอกตัวเมืองเชียงใหม่


                      การเข้าถึงมวลชนผ่านการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งผ่านวิถีวัฒนธรรมเป็น
             สิ่งที่สำาคัญสำาหรับการเมืองในระดับภูมิภาค ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งพบว่าหัวหน้าพรรค แกนนำาพรรคการเมือง

             ผู้สมัคร ส.ส.มีการใช้ภาษาท้องถิ่นและการแต่งกายตามวัฒนธรรมในพื้นที่ การแสดงสัญลักษณ์ของความเป็นกลุ่ม
             พวกเดียวกันผ่านการแต่งกายและภาษา ปรากฏให้เห็นในการหาเสียงของทุกพรรคการเมือง เช่น พรรคอนาคตใหม่

             ที่หัวหน้าพรรคมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับคนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในฐานะเขยเชียงใหม่ นายอภิสิทธิ์
             เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ใส่เสื้อผ้าทอชนเผ่าและพูดภาษาท้องถิ่นทักทายกับประชาชนที่มาฟัง

             ปราศรัย ในขณะที่นโยบายของพรรคในการหาเสียงเลือกตั้งก็จะเป็นไปตามบริบททางการเมืองของพื้นที่ด้วย
             เช่น พรรคเพื่อไทยและพรรคอนาคตใหม่มีการจัดกลุ่มเสวนาแก้ปัญหาเรื่องของปัญหาหมอกควันและฝุ่น PM 2.5

             พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมักมองว่าคือพรรคของคนภาคใต้ แต่เมื่อมาหาเสียงที่ภาคเหนือ การนำาเสนอประเด็นและ
             ข้อมูลในการหาเสียงเพื่อให้ได้คะแนนเสียงก็นำาเสนอแนวทางการกระจายอำานาจและการทำาความเข้าใจปัญหา

             การเกษตร เช่น ราคาลำาไย ภาพรวมของการปราศรัยหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์กล่าวได้ว่า เน้นเรื่องการแก้ไข
             ปัญหาความยากจนและมุ่งเป้าหมายไปที่กลุ่มเกษตรกรเป็นหลัก แม้บทบาทของแกนนำาพรรคและผู้บริหารพรรค

             ที่ระดมกำาลังลงมาในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อช่วยผู้สมัครรับเลือกตั้งหาเสียงนับตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งวันที่
             24 มีนาคม พ.ศ. 2562 จนกระทั่งวันเลือกตั้งใหม่ 26 พฤษภาคม 2562 แม้จะมีการมองว่าพรรคประชาธิปัตย์

             เห็นโอกาสในการชนะการเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ระบบการเลือกตั้งแบบแบ่งสรรปันส่วนผสม
             ที่ทำาให้คะแนนเสียงทุกคะแนนถูกเอามานับ ทำาให้พรรคการเมืองไม่ใช่เพียงพรรคของภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง

             อีกต่อไป แต่พรรคการเมืองต้องให้ความสำาคัญกับทุกภูมิภาคเพื่อทำาให้กวาดคะแนนเสียงให้ได้มากที่สุด
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113