Page 110 - kpiebook63011
P. 110
110 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่
ในช่วงก่อนการเลือกตั้งทางพรรคส่วนกลางจะให้ทุกคนหาเสียงด้วยตัวเองก่อน โดยที่พรรคส่วนกลางจะทำาแผ่นพับ
มอบให้ โดยห้ามรับทุนสนับสนุนจากภายนอก พรรคการเมืองขนาดกลางหรือขนาดเล็กที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่
ต่างพัฒนาการหาเสียงและนำาเสนอนโยบายที่ทำาให้บรรยากาศของการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งมีพัฒนาการ
ที่ทำาให้ประชาชนมีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้นกว่าก่อน แม้การแข่งขันของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งครั้งนี้
จะเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในกติกาการแข่งขัน ฐานเสียงของพรรคแต่ความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชน
มีสูงมากขึ้นทำาให้โอกาสในการกระจายคะแนนเกิดขึ้นได้
ในขณะที่พรรคเพื่อไทยซึ่งมีฐานเสียงที่เข้มแข็ง มีการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งด้วยรูปแบบ วิธีการ
ที่ใช้ทั่วไปคือ การปราศรัยย่อยในพื้นที่เขตเลือกตั้ง และการปราศรัยใหญ่โดยแกนนำาพรรคเพื่อไทยในจังหวัด
เชียงใหม่ เช่น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2562 และจาก
การสัมภาษณ์แกนนำาพรรคเพื่อไทยภาคเหนือ พบว่าพรรคเพื่อไทยยำ้าในเรื่องของการรักษาพื้นที่ด้วยการให้
ผู้สมัคร ส.ส.ออกหาเสียงมากขึ้น โดยเฉพาะการเข้าชุมชน การเดินตลาด และการเข้าถึงประชาชนที่เคยได้รับ
ประโยชน์จากนโยบายของพรรคในอดีต แต่สิ่งที่เป็นกลไกสนับสนุนของพรรคเพื่อไทยในจังหวัดเชียงใหม่คือ
เครือข่ายผู้นำาท้องถิ่น และความนิยมของพรรคเพื่อไทยนับตั้งแต่พรรคไทยรักไทย ดังนั้น การรณรงค์หาเสียง
จึงกลายเป็นการปัดฝุ่น ตอกยำ้าฐานเสียงเดิมเพื่อชนะเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง
ในอีกด้านหนึ่งคือ พรรคพลังประชารัฐซึ่งยังคงใช้รูปแบบและวิธีการรณรงค์หาเสียงด้วยการปราศรัย
เปิดตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งและการเปิดรับสมาชิกเพิ่มเติม ในวันที่ 23 ธันวาคม 2561 โดยมีแกนนำาของ
พรรคพลังประชารัฐ เช่น นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรค นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค
ร.อ.ดร.ธรรมนัส พรหมเผ่า คณะทำางานยุทธศาสตร์ภาคเหนือ ซึ่งสิ่งที่ส่งเสริมการรณรงค์หาเสียงของพรรคนี้
คือ ตัวผู้สมัครแข่งขันในการเลือกตั้งคือ อดีตนักการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่
แทบทั้งสิ้น
การปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งแม้จะมีความสำาคัญในด้านการประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ให้แก่
พรรค แต่การปราศรัยที่มีจำานวนคนเข้าร่วมมากอาจไม่สะท้อนความนิยมที่แท้จริงของพรรคการเมืองได้เสมอไป
กลุ่มคนที่เข้าร่วมฟังปราศรัยของพรรคการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่มักเป็นกลุ่มผู้สูงอายุและเป็นกลุ่มเดิม
ที่ไปร่วมฟังปราศรัยใหญ่ของพรรคการเมืองอื่น ๆ เช่นกัน หรือแม้แต่ในการปราศรัยในการเลือกตั้งใหม่
เขตเลือกตั้งที่ 8 จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าประชาชนจำานวนหนึ่งมาฟังปราศรัยและติดตามพรรคการเมืองทั้ง
พรรคพลังประชารัฐและพรรคอนาคตใหม่ซึ่งเป็นคู่แข่งขันในพื้นที่ที่สำาคัญ แต่กลุ่มคนเหล่านั้นไม่ใช่ผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งในเขต 8 จังหวัดเชียงใหม่ ความนิยมพรรคการเมืองที่ประชาชนชื่นชอบแม้ไม่ได้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ในเขตนั้น ๆ แต่ความนิยมในตัวหัวหน้าพรรคและพรรคการเมืองคือ สิ่งที่ผลักดันให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งติดตาม
การทำางานของพรรคการเมืองอย่างใกล้ชิด และยิ่งการเลือกตั้งมีความสำาคัญต่อการจัดตั้งรัฐบาลทำาให้การเมือง
ไม่ใช่แค่เรื่องในพื้นที่เขตตนเองอีกต่อไป กล่าวได้ว่าบริบททางการเมืองที่เป็นสุญญากาศประชาธิปไตยมาหลายปี
ส่งผลต่อความตื่นตัวที่ทำาให้ประชาชนเห็นความเชื่อมโยงในบทบาททางการเมืองของตนเองกับการเมืองระดับชาติ
มากขึ้น การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นถือเป็นหนทางของการเปลี่ยนแปลงการเมืองตามความเข้าใจของประชาชน