Page 111 - kpiebook63011
P. 111
111
การเดินทางมาปราศรัยของแกนนำาพรรคอนาคตใหม่ ในช่วงเวลาของการเลือกตั้งใหม่ ในเขตเลือกตั้ง
เขต 8 จังหวัดเชียงใหม่ พบว่ากลุ่มคนที่ติดตามการปราศรัยของพรรคอนาคตใหม่มีหลากหลายกลุ่ม แม้แต่กลุ่ม
นักเรียนชั้นมัธยมจำานวนมาก พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขต 8 และบางคนยังไม่มีสิทธิ
ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แต่เฝ้าติดตามหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และใช้คำาเรียกแทนตัวเองว่า “แฟนคลับ” “โอตะ”
ซึ่งสะท้อนความสำาเร็จของการหาเสียงในสื่อออนไลน์ของพรรคอนาคตใหม่ที่กำาหนดเป้าหมายของกลุ่มผู้สนับสนุน
พรรคที่เป็นคนรุ่นใหม่อย่างชัดเจน ซึ่งคนรุ่นใหม่เหล่านี้ทำาหน้าที่เป็นตัวแทนของพรรคในการนำาเสนอพรรค
ต่อครอบครัวและบุคคลรอบข้าง ซึ่งข้อมูลในชุมชนรอบนอกเมืองพบว่า การครองอำานาจและควบคุมการเมือง
ของ คสช. รวมทั้งทิ้งช่วงเวลาของการเลือกตั้งมาหลายปี ทำาให้ประชาชนไม่ทราบความเคลื่อนไหวทางการเมือง
ขาดการเชื่อมต่อข้อมูลทางการเมือง ทำาให้คนรุ่นใหม่ซึ่งติดตามข้อมูลออนไลน์มีอิทธิพลในการโน้มน้าวความนิยม
ที่มีต่อพรรคอนาคตใหม่ได้ จากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนจำานวนมาก ต่างกล่าวว่าในการลงคะแนนเสียง
เลือกตั้งที่ผ่านมาได้เลือกพรรคอนาคตใหม่เพราะเลือกตามลูกหลานที่อาศัยในเมืองโทรมาบอก เพราะผู้สูงอายุ
หรือคนในชุมชนไม่ได้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการเมืองมานาน สื่อออนไลน์ก็ไม่ได้ติดตามมากนัก เลยไม่รู้สถานการณ์
หรือประเด็นการเมืองดังเช่นสมัยก่อน
การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันยังคงมีการใช้รูปแบบและวิธีการที่เชื่อมโยงกับชุมชน
คือ การเข้าหาประชาชนในชุมชนผ่านการเข้าร่วมงานสำาคัญทางศาสนาหรือวัฒนธรรมชุมชน การใช้รถแห่
การติดป้ายหาเสียง ตลอดจนการจัดปราศรัยในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม การเติบโตของสื่อออนไลน์กลายเป็น
ตัวแปรของการปรับเปลี่ยนแนวทางในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ไม่ได้ต่อสู้กันเพียง
ในเขตเลือกตั้ง แต่ยังต้องแข่งขันกันด้วยเนื้อหาและการสร้างความนิยมในสื่อออนไลน์ด้วย
กลยุทธ์การหาเสียงเลือกตั้งกับการใช้สื่อออนไลน์ Social Media
ในภาพรวมของทุกพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่ใช้การติดต่อสื่อสารของ
สมาชิกพรรคหรือผู้นำาท้องถิ่น หลัก ๆ จะมี 2 ช่องทางคือ ไลน์ (Line) และ เฟสบุ๊ค (Facebook) ซึ่งในการ
สื่อสารพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกพรรค และผู้นำาท้องถิ่นในช่วงเวลาก่อนเลือกตั้งมีการตั้งกลุ่มไลน์
และใช้ประโยชน์จากสื่อ Social Media มาก โดยข้อมูลในการสื่อสารส่วนใหญ่คือ การทักทายด้วยคำาพูด รูปภาพ
และสติ๊กเกอร์ การสร้างการเคลื่อนไหว (Movement) ในพื้นที่ออนไลน์เกิดขึ้นเพื่อให้พื้นที่การสื่อสารไม่นิ่งเงียบ
นอกจากนั้นในช่วงเวลาของการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งจะมีการส่งข้อมูลของพรรค เช่น แนวนโยบาย กำาหนดการ
การปราศรัย หรือรูปภาพของผู้สมัครในการทำากิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ ไลน์ (LINE) เป็นเครื่องมือที่แพร่หลาย
มากที่สุด เนื่องจากสร้างเครือข่ายง่าย ดังนั้น กลุ่มไลน์จะมีหลายกลุ่ม กลุ่มระดับพรรค กลุ่มผู้สมัครระดับ
จังหวัด กลุ่มทีมงานช่วยหาเสียง กลุ่มผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่เชิญชวนกันเข้ามาอยู่ในกลุ่ม แต่การมีไลน์ช่วย
เรื่องของความรวดเร็วแล้วทำาให้คนที่อยู่ในกลุ่มโดยเฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้งรู้สึกมีความใกล้ชิดและรับทราบข้อมูล
พร้อมเพรียงกันกับคนอื่น แต่จำานวนสมาชิกในกลุ่มของสื่อออนไลน์ไม่ใช่สิ่งที่บ่งบอกถึงโอกาสในการแพ้ชนะ
การเลือกตั้งได้ ในขณะที่เฟสบุ๊คเป็นการเน้นการโพสต์ภาพและกิจกรรมของพรรคการเมืองและผู้รับสมัคร