Page 116 - kpiebook63011
P. 116
116 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่
5.3 กระบวนกำรคัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้งของ
พรรคกำรเมือง
การคัดเลือกผู้สมัครของพรรคการเมืองมีความแตกต่างระหว่างพรรคการเมืองใหญ่ดั้งเดิมกับ
พรรคการเมืองใหม่ ในส่วนของพรรคการเมืองเดิมอย่างกรณีของพรรคเพื่อไทย ได้มีการสำารวจข้อมูลพื้นที่
หัวคะแนน ผู้นำาชุมชน ตลอดจนการรักษาฐานคะแนนเสียงผ่านผู้นำาชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง การคัดเลือก
ผู้สมัครจึงไม่ใช่กระบวนการที่ซับซ้อนแต่เป็นการนำาอดีต ส.ส.ของพื้นที่มาลงเป็นผู้สมัครของพรรค
ความได้เปรียบของพรรคเพื่อไทยในจังหวัดเชียงใหม่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเลือกตั้ง
ทั่วไปในปี พ.ศ. 2544 ในยุคของพรรคไทยรักไทย ที่ในจังหวัดเชียงใหม่กวาดที่นั่ง ส.ส. ไปได้ทุกเขตติดต่อกันมา
จนถึงการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 และเมื่อมีการยุบพรรคและก่อตั้งพรรคใหม่ในนามของพรรคพลังประชาชน
ซึ่งยังคงเป็นพรรคที่ชนะการเลือกตั้งได้ที่นั่งในสภามากที่สุดในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2553
ผู้วิจัยได้มีโอกาสสัมภาษณ์แกนนำาพรรคระดับภาคที่ได้ทำางานกับอดีตหัวหน้าพรรค คือ ดร.ทักษิณ ชินวัตร
มานับตั้งแต่พรรคพลังธรรมจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะการเป็นฝ่ายสนับสนุนพรรคในระดับจังหวัด ซึ่งได้ให้ข้อมูล
ก่อนการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 ว่า พรรคเพื่อไทยยังคงเน้นการเอาอดีต ส.ส.มาลงสมัครรับเลือกตั้ง
เป็นหลัก และพรรคยังคงเน้นการให้ ผู้สมัคร ส.ส. นำาเสนอพรรคในรูปแบบของพรรคที่ทำานโยบายที่เกิดขึ้นจริงได้
โดยมีผลงานในเชิงประจักษ์ในอดีต แม้ในเขตเลือกตั้งที่ 3 ผู้สมัครจะเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ แต่ฐานเสียงของพรรค
ที่เป็นฐานของตระกูลชินวัตรทำาให้มั่นใจว่ายังคงชนะการเลือกตั้งอย่างแน่นอน การทำาโพลเพื่อวัดความนิยมของ
ผู้สมัครคือสิ่งที่สำาคัญสำาหรับพรรคเพื่อไทย ใช้ประกอบการตัดสินใจในการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามพรรค
พรรคเพื่อไทยเคยมีการเสนอให้มีการนำาระบบ Primary Vote มาใช้คัดเลือกผู้สมัครของพรรค อันเป็นผลมาจาก
การพ่ายแพ้การเลือกตั้งปี 2554 ในจังหวัดปทุมธานีที่มีการประเมินผิดพลาด (มานิตย์ จุมปา และพรสันต์
เลี้ยงบุญเลิศชัย, 2555) แทนที่จะเป็นการเลือกผู้สมัครจากเครือข่ายอำานาจและอุปถัมภ์ของชนชั้นนำาภายในพรรค
แต่การเอาระบบ Primary Vote มาใช้ยังไม่เกิดขึ้นในพรรคเพื่อไทยจนถึงปัจจุบัน การจัดทำาโพลหรือการสำารวจ
ข้อมูลความนิยมนอกจากใช้เพื่อไปกำาหนดผู้สมัครแล้ว ยังรวมไปถึงการเก็บข้อมูลความต้องการของประชาชน
เพื่อนำาไปสู่การออกนโยบายที่ใช้ในการหาเสียงของแต่ละพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่
จากการสัมภาษณ์ผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคเพื่อไทย และเป็นคนที่เกี่ยวข้องกับตระกูลการเมืองในจังหวัด
เชียงใหม่ ยืนยันว่าขั้นตอนในการเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ของภาคเหนือนั้น คือการให้ความสำาคัญกับ
อดีต ส.ส. ของพรรคก่อน กลุ่ม ส.ส. ภาคเหนืออาจจะเป็นกลุ่มที่แตกต่างไปจาก ส.ส. ภาคอื่นเพราะพื้นที่ภาคเหนือ
คือ พื้นที่ฐานคะแนนเสียงของพรรคเพื่อไทยมาอย่างยาวนาน แต่ในการคัดเลือกผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคในภาคอื่น
จะเป็นการพิจารณาจากส่วนกลาง แต่สิ่งที่พรรคทำาแทบทุกเขตเลือกตั้งคือ การทำาโพล (Poll) โดยเฉพาะในเขตที่
มีการต่อสู้ที่น่าจะสูสีกัน เช่น เขตเลือกตั้งที่ 5 จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีกระแสข่าวความขัดแย้งของลูกชายอดีต ส.ส.
แต่ที่สุดการทำาโพลทำาให้เห็นแนวโน้มของข้อมูลคะแนนเสียง และทำาให้เห็นจุดอ่อนที่ต้องเข้าไปแก้ไขเพื่อเพิ่ม
คะแนนเสียง ในจังหวัดเชียงใหม่ทั้ง 9 เขต มีเพียงเขตเลือกตั้งเดียวที่มีผู้สมัคร ส.ส. หน้าใหม่ คือ เขตเลือกตั้งที่ 3