Page 120 - kpiebook63011
P. 120
120 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่
รวมพลังประชาชาติไทยไม่ค่อยมีคนเป็นนักการเมืองอาชีพมากนัก เพราะทักษะที่จำาเป็นและสำาคัญในการเมือง
ปัจจุบันคือ ด้านการพูดซึ่งนักการเมืองรุ่นใหม่ขาดทักษะนี้มาก และการสื่อสารเป็นสิ่งสำาคัญในการหาเสียง
เลือกตั้ง ในส่วนของผู้สมัครในระบบบัญชีรายชื่อนั้น นอกจากคนที่พรรคไปทาบทามมาเข้าร่วมแล้ว ก็จะมีในส่วน
ของคนที่มาสมัครทำางานกับพรรคและเสนอตัวเอง ซึ่งบทบาทสำาคัญของผู้สมัครในระบบบัญชีรายชื่อคือ ต้องช่วย
หาเสียงตามจังหวัดต่าง ๆ โดยทางพรรคจะมีการจัดตารางการเดินสายหาเสียงตามแผนการเดินคารวะแผ่นดิน
ของนายสุเทพ ข้อมูลจากการสอบถามเกี่ยวกับทรัพยากรที่พรรคช่วยสนับสนุนผู้สมัคร ได้ข้อมูลว่าพรรคช่วย
ค่าใช้จ่ายบางส่วน โดยเฉลี่ยจะได้เงินระหว่าง 500,000 – 2 ล้านบาท แล้วแต่พื้นที่หรือคนที่มีโอกาส และ
ความเป็นไปได้ในการชนะการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งครั้งนี้นับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ทำาให้เห็นจำานวนพรรคการเมืองที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ในแต่ละเขตการเลือกตั้งมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้ง พรรคขนาดเล็กหรือพรรคที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น
พรรคพลังท้องถิ่นไท โดยมีนายชัชวาล คงอุดม เป็นหัวหน้าพรรค ฐานเสียงของพรรคคือกลุ่มเครือข่ายข้าราชการ
และกลุ่มผู้นำาท้องถิ่น ดังนั้นการคัดเลือกผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคจึงเน้นการสรรหาผู้สมัครจากกลุ่มข้าราชการ
ท้องถิ่นที่เกษียณอายุไปแล้วหรือคนที่พร้อมลาออกจากระบบราชการและมาลงสมัครรับเลือกตั้ง ประเด็นสำาคัญ
คือ พรรคขนาดกลางและเล็กในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 นั้น เน้นการกวาดคะแนนของพรรคเพื่อให้
พรรคมีที่นั่งในระบบบัญชีรายชื่อ โดยเฉพาะท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่มีการแบ่งขั้วการเมืองระหว่าง
ฝ่ายทหารกับฝ่ายการเมืองที่ชูประเด็นประชาธิปไตยทำาให้แนวทางและจุดยืนของพรรคการเมืองขนาดกลางและ
เล็กจะเน้นความเป็นกลางมากกว่าการแสดงออกหรือหาเสียงที่เกิดภาพของการเลือกข้างของกลุ่มการเมืองระดับ
ชาติ และเชื่อว่าพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กคือ พรรคทางเลือกสำาหรับคนที่ไม่ต้องการความขัดแย้ง
โดยเฉพาะพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่
5.4 กำรเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมทำงกำรเมือง
ของประชำชน และกลุ่มกำรเมืองในพื้นที่ในกำรเลือกตั้ง
สมำชิกสภำผู้แทนรำษฎรจังหวัดเชียงใหม่
ในจังหวัดเชียงใหม่ลักษณะของกลุ่มผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ
คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เรียกว่า First-time Voters, กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง เป็นกลุ่มชนชั้นกลาง วัยกลาง
คนอาจจะได้แก่ ข้าราชการ, นักธุรกิจหรือเจ้าของกิจการ และกลุ่มที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดคือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่
อาศัยนอกอำาเภอเมือง มีความสัมพันธ์ในรูปแบบของความเป็นชุมชนสูง มีอาชีพหลัก ๆ คือการทำาเกษตรกรรม
และการรับจ้างทั่วไป