Page 122 - kpiebook63011
P. 122
122 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่
โดยกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกเป็นกลุ่มที่ถูกจับตามองในฐานะของกลุ่มตัวแปรคะแนนทางการเมือง
(Swing Votes) กลุ่มคนรุ่นใหม่ คือ กลุ่มผู้ลงคะแนนเสียงหลักที่มีการใช้ Social Media และการรับรู้ข้อมูล
ข่าวสารผ่านทางสื่อออนไลน์มากกว่ากลุ่มผู้ลงคะแนนเสียงกลุ่มอื่น ๆ จากการเก็บข้อมูลในช่วงก่อนการเลือกตั้ง
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกที่เรียนจบแล้วยังไม่ตัดสินใจ 100% ว่าจะลงคะแนนเสียงให้กับใคร นอกจากนี้ยังมี
กลุ่มเกษตรกร รับจ้างที่อยู่รอบนอกเมืองเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ชนบทที่ขยายวงกว้างไปสู่กลุ่มชนเผ่าชาติพันธุ์
บนที่ราบสูง ที่มีความชัดเจนว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้ มุ่งเลือกพรรคการเมืองที่เชื่อว่าจะทำาให้เศรษฐกิจดีมีที่ทำากิน
แม้ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่จะมีความหลากหลายไปตามกลุ่มที่แบ่งมา แต่จากการเก็บ
ข้อมูลพบว่ากว่า 80% มีพรรคการเมืองที่ต้องการจะลงคะแนนเสียงให้แล้วและไม่คิดจะเปลี่ยนใจ
การเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562 นี้มีการให้ความสำาคัญกับกลุ่มความหลากหลายาทางชาติพันธุ์
และศาสนามากเช่นกัน เช่น พรรคประชาชาติ ที่เน้นเรื่องศาสนาและกลุ่มคนภาคใต้ ในขณะที่ภาคเหนือเอง
กลุ่มชาติพันธุ์มีจำานวนมากมานานแล้ว เช่น เผ่าม้งมีจำานวนทั้งหมดกว่า 200,000 – 300,000 คน ซึ่งเหล่า
นักการเมืองในพื้นที่ชาติพันธุ์ทราบกันดี และในสภาก็เคยมี ส.ส. ที่เป็นชนเผ่าม้งจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนมาแล้ว
แต่สถานการณ์ปัจจุบันที่การเมืองในพื้นที่เปลี่ยนไป ทำาให้คนกลุ่มนี้กลายเป็นกลุ่มที่มีพลังทางการเคลื่อนไหว
ทางการเมืองมาก โดยเฉพาะการขับเคลื่อนประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและเป็นฐานคะแนนที่สำาคัญซึ่งเป็นไปตาม
ระบบการเลือกตั้งใหม่ที่คะแนนเสียงทุกคะแนนมีความหมาย
ในเขตเลือกตั้งที่ 9 จังหวัดเชียงใหม่มี 3 พรรคการเมืองส่งผู้สมัครชาติพันธุ์ลงแข่งขันการเลือกตั้งในนาม
พรรคได้แก่ พรรคอนาคตใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ และพรรครวมพลังประชาชาติไทย แน่นอนว่าในเขตพื้นที่
ที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นพื้นที่ที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเชื่อว่าต้องมีวิธีการเข้าถึงที่แตกต่างจากคนพื้นเมืองภาคเหนือ
จากการสัมภาษณ์ผู้สมัครของพรรคการเมือง 2 พรรคที่เป็นตัวแทนชาติพันธุ์ลงสมัคร ต่างเห็นว่าความเป็นชุมชน
ชาติพันธุ์ที่ยึดโยงกันไว้ ด้วยเรื่องของวัฒนธรรมและระบบความเชื่อ ความเป็นพวกพ้อง ทำาให้ในการหาเสียงไม่ว่า
จะแข่งกันอย่างไร ก็จะบอกประชาชนว่าไม่ว่าจะเลือกใครไม่สำาคัญเท่ากับต้องเลือกคนพวกเดียวกัน เป็นชาติพันธุ์
เหมือนกัน เมื่อเป็นเช่นนี้พฤติกรรมการเลือกตั้งของกลุ่มคนชาติพันธุ์มีความน่าสนใจตรงที่เน้นการเลือกที่ตัวบุคคล
เพราะเชื่อว่ามีความใกล้ชิดกับชุมชนของตนเองมากกว่า และมีคะแนนเป็นกลุ่มเป็นก้อน พรรคการเมืองเป็นเพียง
องค์ประกอบรองในการตัดสินใจ โดยเฉพาะในการเลือกตั้งที่มีบัตรลงคะแนนเสียงแค่ใบเดียว
ในการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองนั้น พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยเฉพาะกลุ่มเกษตกร
ให้ความสำาคัญในการตัดสินใจในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งโดยเน้นนโยบายเศรษฐกิจและสวัสดิการ ประชาชน
ส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่าสถานะทางเศรษฐกิจของตนและครอบครัวแย่ลง รายได้ลดลงแต่ภาระหนี้สินเพิ่มมากขึ้น
ความรู้สึกเช่นนี้ยิ่งตอกยำ้าความนิยมใน พรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของพรรคไทยรักไทย ที่ประชาชน
ส่วนใหญ่มองว่าเป็นยุคที่รู้สึกว่าตนเองได้รับผลประโยชน์จากรัฐมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเงินหรือสวัสดิการใน
รูปแบบต่าง ๆ แม้ว่าในยุครัฐบาลหลังรัฐประหารจะมีการมอบบัตรสวัสดิการหรือมอบเบี้ยเลี้ยงชีพให้ผู้สูงอายุ
แต่พวกเขาก็ยังมองว่ามันคือ การเดินตามรอยของพรรคเพื่อไทยและอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ความจงรักภักดี