Page 121 - kpiebook63011
P. 121

121








                          5.4.1 ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกับกำรเลือกในระบบจัดสรร
                  ปันส่วนผสม


                          ประชาชนจำานวนมากยังขาดความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งจัดสรร

                  ปันส่วนผสม โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยนอกเขตเมือง หากมองพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ เขตเลือกตั้ง
                  อำาเภอเมืองถูกกำาหนดให้เป็นเขตเลือกตั้งที่ 1 ซึ่งเป็นเขตที่มีบัตรเสียน้อยที่สุดและกาไม่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

                  (No Vote) มากที่สุดจากทั้ง 9 เขต (ข้อมูลจากแผนภาพ 4.2 หน้า 70) พบว่าประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำานวน
                  มาก โดยเฉพาะเขตอำาเภอรอบนอกยังมีความเข้าใจว่าบัตรเลือกตั้งมี 2 ใบ และมีความสับสนหมายเลขของผู้สมัคร

                  รับเลือกตั้ง ที่จะได้คนละหมายเลขแม้จะมาจากพรรคเดียวกันแต่อยู่คนละเขตเลือกตั้ง ความไม่รู้และไม่เข้าใจ
                  สาระเกี่ยวกับการเลือกตั้งสะท้อนปัญหาของการเผยแพร่ข้อมูลทั้งจากหน่วยงานราชการและองค์กรที่เกี่ยวข้อง

                  เพราะในอีกด้านหนึ่งความไม่รู้ของประชาชนกลายเป็นโอกาสให้กับการแทรกซึมของข่าวเท็จ ข้อมูลที่ผิดพลาด
                  หรือวิธีการลงคะแนนเสียงที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายและเอื้อประโยชน์ต่อพรรคการเมืองบางพรรคได้ จากข้อมูล

                  ในพื้นที่พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ได้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการลงคะแนนเสียงจากผู้สมัครรับเลือกตั้ง หัวคะแนน และ
                  ผู้นำาชุมชน ประเด็นหนึ่งที่พบเจอในเขตเลือกตั้งรอบนอก คือ การลงคะแนนเสียงเชิงยุทธศาสตร์ที่ประชาชน

                  ได้รับข้อมูลจากหัวคะแนน เช่น การลงคะแนนให้พรรคอนาคตใหม่ เพื่อให้หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่นำาอดีตนายกฯ
                  ทักษิณ ชินวัตร กลับบ้าน และการโน้มน้าวให้ประชาชนลงคะแนนเสียงให้แก่พรรคเล็กที่ไม่ใช่พรรคที่มีโอกาส

                  ในการชนะการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งเพื่อเป็นการตัดคะแนนของพรรคใหญ่ในเขตเลือกตั้ง เป็นต้น


                          ภายใต้ระบบการเลือกตั้งจัดสรรปันส่วนผสมนั้น วิธีการรณรงค์หาเสียงและยุทธวิธีในการแข่งขัน
                  การเลือกตั้งของพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งมีการกำาหนดไปตามกลุ่มประเภทของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

                  การหาเสียงของพรรคการเมืองมีนโยบายและข้อเสนอที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นเพื่อให้ตรงกับความต้องการประเภท
                  ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2 ประเภทหลัก ๆ คือประเภทตามกลุ่มอาชีพและตามอายุ เห็นได้จาก ในตัวเมืองเชียงใหม่

                  จะมีกลุ่มผู้มีสิทธิลงคะแนน 2 กลุ่มหลักคือ กลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก หรือ First-time voters หมายถึง
                  กลุ่มผู้ที่เกิดระหว่างปี 2537-2544 ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มที่มีสิทธิเลือกตั้งตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา แต่ยังไม่เคยได้

                  เลือกตั้งและกลุ่มที่จะมีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งที่กำาลังจะมาถึงในปี 2562 จากข้อมูลของกรมการปกครอง
                  กระทรวงมหาดไทย ระบุว่า ผู้เกิดระหว่างปี 2537-2544 มีจำานวนไม่น้อยกว่า 6,426,014 คน ผู้มีสิทธิลงคะแนน

                  เสียงเลือกตั้งครั้งแรกหลังจากที่การเมืองไทยไม่มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปมากว่า 5 ปี เนื่องจากในจังหวัดเชียงใหม่
                  มีสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา 12 แห่ง ซึ่งยังไม่นับรวมสถานศึกษาในระดับมัธยมปลายที่มีนักเรียน

                  ที่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งเช่นกัน และกลุ่มคนชนชั้นกลางวัยกลางคนเป็นเจ้าของธุรกิจ รับจ้างทำางานบริษัท
                  เอกชนและรับราชการเพราะเป็นศูนย์กลางของหน่วยงานราชการ สำาหรับจังหวัดเชียงใหม่ การที่เป็นจังหวัด

                  ที่มีสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน มีคะแนนเสียงที่เป็นกลุ่ม First-time voters
                  กว่า 170,000 คน นับเป็นกลุ่มคะแนนที่มีผลต่อพรรคการเมืองภายใต้ระบบการเลือกตั้งอย่างมาก
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126