Page 114 - kpiebook63011
P. 114
114 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่
สื่อสารและอ่านสื่อโซเชียล หรือใช้สื่อออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ พรรคเพื่อไทยมีการจัดอบรมและสอนวิธีการ
เทคนิคการใช้ Social Media รวมถึงการทำายอด Like ในเฟสบุ๊ค และการตั้งไลน์เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสาร
กับผู้สนับสนุน อย่างไรก็ตาม จากการสัมภาษณ์ผู้สมัครรับเลือกตั้งจากพรรคเพื่อไทยต่างก็ยืนยันว่าการเดิน
พบปะประชาชน วิธีการเคาะประตูบ้าน และแจกแผ่นพับแนะนำาตัว รวมทั้งรถแห่ ซึ่งจะเห็นได้ว่าวิธีการที่เจอกัน
ต่อหน้ายังคงเป็นวิธีที่ดีและสำาคัญที่สุดในการหาเสียงเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่
ในส่วนของพรรคเพื่อไทยส่วนกลาง ยุทธวิธีในการหาเสียงที่ต้องเอามาเสริมคือ การอาศัยความถี่
ในการใช้ Social Media จะเห็นว่าคุณหญิงสุดารัตน์ในฐานะประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้งของพรรคมีการ
Live สดการทำางานในทุกโซเชียลบ่อยมากแทบจะทั้งวัน ไม่ว่าจะเดินทางไปไหน อยู่กับใคร การใช้ Social Media
เหมือนกับกลายเป็นสนามรบสำาหรับพรรคการเมืองในการสร้างภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองระดับชาติ
ต้องทำาไปควบคู่กันระหว่างการหาเสียงในพื้นที่กับการทำา Social Media ระบบการเลือกตั้งใหม่ที่ทำาให้เกิดประเด็น
ของคะแนนเสียงไม่ตกนำ้า กลายเป็นสิ่งที่บังคับให้ทุกคนต้องทำางานหนักมากขึ้นเพื่อกวาดคะแนนให้ได้มากที่สุด
เพราะมีผลต่อการประเมินพรรคการเมือง จากการสัมภาษณ์พบว่า ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยยังเชื่อมั่นในระบบ
หัวคะแนนซึ่งเป็นผู้นำาชุมชน การทำางานของหัวคะแนนมีความยากลำาบากมากขึ้น ไม่เหมือนในช่วงสมัยก่อน
หน้าที่นิยมฟังผู้นำา แต่ในปัจจุบันผู้นำาเองต้องพูด อธิบายและมีความรู้ความเข้าใจในสาระของนโยบายพรรคและ
ผู้สมัครของพรรคการเมืองมากขึ้นเพื่อไปอธิบายโน้มน้าวประชาชนในชุมชนให้ลงคะแนนเสียงให้ผู้ที่ตนสนับสนุน
จากการสัมภาษณ์ผู้สมัครพรรคพลังประชารัฐต่างเห็นว่ากลยุทธ์การหาเสียงขึ้นอยู่กับพื้นที่ด้วย
เพราะเขตเลือกตั้งแต่ละเขตมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ประเด็นสำาคัญ
อย่างหนึ่งคือ การแบ่งเขตเลือกตั้ง เพราะการแบ่งเขตมีผลต่อคนที่เคยมีฐานเสียงในพื้นที่หนึ่งมาก่อน แต่เมื่อ
มีการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ ทำาให้ต้องข้ามเขตไปหาเสียงในพื้นที่ที่เดิมเป็นของผู้สมัครคนอื่น “มองมุมหนึ่ง
การแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ อาจดีกับพรรคการเมืองใหม่ เพราะเหมือนไปผ่าพื้นที่ของกลุ่มฐานเสียงเดิมที่เข้มแข็ง
แต่ส�าหรับคนที่เคยมีประสบการณ์ในการลงเลือกตั้งแม้จะไม่ชนะเลือกตั้ง แล้วมาลงในนามพรรคก็เหมือน
ต้องมาหาเสียงใหม่อยู่ดี แต่ทุกคนต้องเข้าไปเจอชาวบ้านหมดไม่ว่าจะพรรคเก่าพรรคใหม่ พรรคที่เขามีฐานเสียง
ที่เข้มแข็งเดิม เขามีกระแสมานานแล้ว พรรคเขาเองไม่ได้สนใจ ส.ส.เท่าไหร่หรอก คือ เวลาหาเสียงก็หาเสียงแค่
พรรคกับคุณทักษิณ” (สัมภาษณ์ผู้สมัครรับเลือกตั้งพรรคพลังประชารัฐ จังหวัดเชียงใหม่ 20 มกราคม 2562)
แต่พรรคเพื่อไทยก็มีกลยุทธ์ที่ทางผู้สมัครพรรคพลังประชารัฐเชื่อว่าต้องเรียนรู้คือ การทำาการตลาดการเมือง
เชิงรุก การใช้การรณรงค์ (Campaign) การสร้างข้อความ (Message) ที่มีผลกระทบต่อการรับรู้ของคนในสังคม
และการสร้างความรู้สึกและทบทวนต่อบทบาทของรัฐบาลภายใต้ คสช. เช่น พรรคเพื่อไทย “หยุดวิกฤตเศรษฐกิจ
หยุดสร้างหนี้”, พรรคอนาคตใหม่ “พอรึยัง? 5 ปีรวยกระจุก จนกระจาย” ฯลฯ จนไปถึงการทำาสื่อออนไลน์ของ
พรรคเพื่อไทย และพรรคอนาคตใหม่ที่มีการทำาเชิงรุกและเข้าถึงประชาชนได้มาก ซึ่งแตกต่างกับพรรคพลังประชารัฐ
ที่ยังขาดกลยุทธ์ด้านการสื่อสารและการสร้างความนิยมผ่านเครื่องมือสารสนเทศต่าง ๆ
พรรคพลังประชารัฐให้สื่อออนไลน์เป็นเครื่องมือสำาคัญในการสร้างภาพลักษณ์ของพรรคเช่นกัน
การใช้สื่อ Social Media ในการหาเสียงเป็นสิ่งที่สำาคัญ แต่สิ่งที่สำาคัญยิ่งกว่าคือ พรรคต้องเข้าใจและรู้ว่าการใช้
Social Media ใช้เพื่ออะไรและคนกลุ่มไหน เพราะเนื้อหาและรูปภาพในสื่อออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ค ไลน์