Page 109 - kpiebook63011
P. 109

109








                          ป้ายหาเสียง ยังคงเป็นรูปแบบหลักของการหาเสียงของทุกพรรคการเมือง โดยเฉพาะพรรคการเมือง

                  ใหม่ที่กำาเนิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งนี้ เช่น พรรคพรรคพลังท้องถิ่นไทซึ่งเป็นพรรคขนาดเล็กและถูกมองว่า
                  เป็นพรรคนอกกระแส แต่แท้ที่จริงแล้วพรรคการเมืองนี้ตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 พรรคตัดสินใจที่ส่งผู้สมัคร

                  ลงสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่ครบทุกเขต ในการเลือกตั้ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 นี้ ซึ่งประเด็นที่เป็น
                  นโยบายหลักของพรรคคือ การกระจายอำานาจไปสู่ท้องถิ่น ซึ่งเป็นประเด็นในกระแสการเคลื่อนไหวทางสังคม

                  ในจังหวัดเชียงใหม่มานับสิบปี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียกร้องให้จังหวัดเชียงใหม่เป็น “เชียงใหม่มหานคร”
                  พรรคพลังท้องถิ่นไทย จึงกำาหนดยุทธศาสตร์การหาเสียงเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่ที่เจาะไปที่กลุ่มผู้นำาท้องถิ่น

                  และข้าราชการท้องถิ่น โดยเฉพาะการตอกยำ้าเรื่องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำานาจรัฐที่รวมศูนย์อำานาจมา
                  อย่างยาวนานจนกลายเป็นต้นตอปัญหาต่าง ๆ ในท้องถิ่น ไม่ว่าจะปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ หรือความยากจน

                  แนวนโยบายเรื่องการกระจายอำานาจ เน้นเรื่องของการศึกษาและสาธารณสุขที่ต้องการให้หน่วยการปกครอง
                  ท้องถิ่นเป็นผู้บริหารจัดการเต็มรูปแบบ


                          การรวมกลุ่มของสมาชิกพรรคเกิดจากการที่สมาคมข้าราชการท้องถิ่นแห่งประเทศไทย นำาโดย

                  นายพิพัฒน์ วรสิทธิดำารง นายกสมาคมข้าราชการส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทยและเป็นผู้สมัครสมาชิก
                  สภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อพรรคพลังท้องถิ่นไท ระดมกลุ่มคนและข้าราชการท้องถิ่นเรียกร้องให้มีการ

                  เปลี่ยนแปลงกระจายอำานาจ และได้มีโอกาสนำาเสนอความคิดนี้ต่อนายชัชวาล คงอุดม หรือที่เรียกว่า ชัช เตาปูน
                  จนเป็นที่มาของการรวมกันทำางานเพื่อพรรคพลังท้องถิ่นไท และนายชัชวาล เป็นหัวหน้าพรรค ซึ่งการเคลื่อนไหว

                  ของกลุ่มที่จริงมีมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ในยุคของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
                  เป็นนายกรัฐมนตรี “กลุ่มพวกเรามีการเดินขบวนเรียกร้องให้มีการกระจายอ�านาจอย่างแท้จริงในรัฐบาลอภิสิทธิ์

                  เรียกกันว่า “ม็อบแดดเดียว” เพราะวันที่เดินร้อนมาก ซึ่งในตอนนั้นรัฐบาลรับปากว่าจะผลักดันแนวทางที่
                  เราเสนอให้แต่ปรากฏว่าไม่ได้ท�า เลยคิดว่าการขับเคลื่อนแบบนี้ไม่ได้ผล น่าจะท�าผ่านพรรคการเมืองน่าจะดีกว่า

                  และไปผลักดันในสภาฯ เลยตั้งพรรคขึ้นมา” (สัมภาษณ์สมาชิกพรรคพลังท้องถิ่นไท (1) 18 มกราคม 2562)


                          จากการสัมภาษณ์ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งในระบบแบ่งเขตจังหวัดเชียงใหม่กับระบบบัญชีรายชื่อของ
                  พรรคพลังท้องถิ่นไทยได้ให้ข้อมูลว่าพื้นฐานคะแนนเสียงส่วนใหญ่อยู่ในเขตเตาปูน เพราะมีหัวหน้าพรรคคือ
                  นายชัชวาล คงอุดม เป็นผู้มีอิทธิพลกว้างขวางในย่านนั้น หัวหน้าพรรคเคยมีประสบการณ์ในการทำาพรรคการเมือง

                  มาก่อน คือ การช่วยพรรคกิจสังคมที่นำาโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช โดยที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์รับเอานายชัชวาล คงอุดม

                  มาเป็นลูกบุญธรรม และมอบกิจการในเครือหนังสือพิมพ์สยามรัฐให้เป็นผู้สืบทอดดูแลกิจการ “หัวหน้าพรรคผม
                  เป็นเจ้าพ่อแต่ไม่ใช่มาเฟีย ไม่ค้ามนุษย์ ไม่ค้ายา และไม่ค้าผู้หญิง แค่มีอิทธิพลในการด�าเนินการจัดการพื้นที่”
                  (สัมภาษณ์สมาชิกพรรคพลังท้องถิ่นไท (2) 18 มกราคม 2562)


                          ในฐานะพรรคการเมืองที่อาจไม่มีกระแสเท่าพรรคใหญ่ การหาเสียงจึงต้องเน้นให้เกิดความโดดเด่น

                  ต้องทำาการประชาสัมพันธ์เชิงรุกที่ทำาให้คนหันมาสนใจได้เร็ว ซึ่งการจัดทำาแผนในการประชาสัมพันธ์หลัก ๆ คือ

                  ทำาร่วมกับรองหัวหน้าพรรคที่เป็นผู้รับผิดชอบพื้นที่ภูมิภาค และเสนอพรรคส่วนกลางเพื่อรับการสนับสนุนทรัพยากร
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114