Page 105 - kpiebook63011
P. 105

105










                          ในช่วงเวลานับจากมีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.

                  2562 พรรคการเมืองต่างแสดงตัวและเข้าหาผู้นำาชุมชน แม้ความได้เปรียบเสียเปรียบของพรรคการเมืองที่มีทุน
                  ทางการเมืองแตกต่างกัน แต่ระบบการเลือกตั้งจัดสรรปันส่วนผสมทำาให้พรรคการเมืองทุกพรรคมีโอกาสในการ

                  สร้างฐานคะแนนเสียงของตนเองและพรรคของตนเองได้เพื่อปูทางสู่การเลือกตั้งท้องถิ่น กลุ่มการเมืองในพื้นที่
                  ซึ่งยึดโยงอย่างเหนียวแน่นกับพรรคเพื่อไทย ในขณะที่พรรคอนาคตใหม่ช่วงชิงฐานคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิ

                  เลือกตั้งครั้งแรก การต่อสู้ในจังหวัดเชียงใหม่ผ่านกลุ่มการเมือง หัวคะแนน และการหาเสียงเลือกตั้งจึงเห็นได้
                  ชัดเจนว่า เป็นการช่วงชิงที่นั่งระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคพลังประชารัฐ





                  5.2 รูปแบบและวิธีกำรในกำรกำรรณรงค์หำเสียง

                  เลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมำชิกผู้แทนรำษฎร


                  ในจังหวัดเชียงใหม่



                          การสื่อสารทางการเมืองในช่วงระหว่างการเลือกตั้ง หากมองจากแนวทางของการสื่อสารทางการเมือง
                  มาช่วยในการวิเคราะห์ จะเห็นว่าข้อความ (Message) หรือสารที่มีความสำาคัญมากคือ การพยายามนำาเสนอ

                  พรรคการเมืองและผู้สมัครในฐานะสินค้าหรือข้อเสนอที่จะส่งให้กับผู้รับสารหรือผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
                  อย่างไรก็ตาม ในช่วงก่อนที่จะถึงวันเลือกตั้ง ข้อความที่ใช้ในการต่อสู้ของพรรคการเมือง 2 พรรค คือ

                  พรรคเพื่อไทยและพรรคอนาคตใหม่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่คือ การพูดถึงอุดมการณ์และการเลือกข้างที่มีภาพ
                  ของการแบ่งขั้วพรรคการเมืองอย่างชัดเจน ส่งผลต่อการลงคะแนนเสียงให้แก่พรรคการเมืองในฐานะพันธมิตร

                  ของพรรคการเมืองที่ตนเองชื่นชอบ “Vote Sharing” กลายเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้ง
                  ครั้งนี้ ในขณะที่พรรคการเมืองอื่นเป็นการหาเสียงเดี่ยว สิ่งที่น่าจะสะท้อนจากการเลือกตั้งครั้งนี้คือ ระบบการ

                  เลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมนี้ทำาให้พรรคการเมืองต้องหาพันธมิตรพรรคในช่วงการเลือกตั้ง ตัวอย่างเช่น
                  แนวทางยุทธศาสตร์เลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยและพรรคไทยรักษาชาติที่ปรากฏในสื่อคือ “การแตกแบงค์พัน

                  เป็นแบงค์ร้อย” หรือที่เรียกว่า “การแตกแบงค์ย่อย” คือ การกระจายอดีต ส.ส.ไปอยู่พรรคการเมืองใหม่ โดยหวัง
                  เก็บทุกคะแนนจากการเลือกตั้ง ตามกติกาใหม่ของระบบเลือกตั้ง ซึ่งสะท้อนผลกระทบของระบบการเลือกตั้ง

                  ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพรรคการเมืองอีกประการ (PPTV ออนไลน์, 2562) ถึงแม้เขตเลือกตั้งใน
                  จังหวัดเชียงใหม่ไม่มีปรากฎผู้สมัครจากพรรคไทยรักษาชาติเปิดตัวตั้งแต่ก่อนการยุบพรรค แต่การเป็นพรรค

                  พันธมิตรทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อพรรคการเมืองต่าง ๆ สามารถประสานและต่อรองผลประโยชน์ของ
                  คะแนนและผู้สมัครรับเลือกตั้งร่วมกันได้ แม้การสร้างพันธมิตรของพรรคการเมืองไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่ แต่

                  ปกติปรากฏการณ์การเป็นพันธมิตรของพรรคการเมืองจะเกิดขึ้นเมื่อมีการต่อรองในการจัดตั้งรัฐบาลผสม แต่
                  ในการเลือกตั้งครั้งนี้สามารถเห็นรูปแบบของการปันคะแนนให้กับพรรคการเมืองพันธมิตรในพื้นที่เขตเลือกตั้ง

                  ของจังหวัดเชียงใหม่แทบทุกเขต
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110