Page 100 - kpiebook63011
P. 100

100 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่








             ในจังหวัดเชียงใหม่ คือ ตลาดต้นพยอม ซึ่งพื้นฐานของครอบครัวที่ทำาธุรกิจมากว่า 40 ปี ทำาให้เกิดเครือข่าย

             ความสัมพันธ์กับกลุ่มธุรกิจการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลสัมภาษณ์ผู้สมัครพรรคเพื่อไทย
             และแกนนำาพื้นที่ที่ช่วยสนับสนุนพรรคต่างมีความมั่นใจในฐานคะแนนเสียงในจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากการใช้

             เครือข่ายผู้นำาในระดับท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งและดำารงตำาแหน่งปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องเพื่อ
             ควบคุมฐานคะแนนเสียงของพรรคในช่วงเวลาที่ผ่านมาแม้แต่กระทั่งช่วงของการบริหารภายใต้รัฐบาล คสช. แม้ใน

             การเลือกตั้งครั้งนี้ ผู้สมัครพรรคเพื่อไทยมองว่ามีความแตกต่างจากการเลือกตั้งที่ผ่าน ๆ มามาก เพราะการเลือกตั้ง
             ครั้งอื่น ๆ ที่ผ่านมายังมีบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตยและไม่ได้มีการควบคุมสมาชิกพรรคและ

             สาขาพรรค อีกทั้งกฎเกณฑ์อะไรหลายอย่างประกาศออกมาในเวลากระชั้นชิดที่ทำาให้ทีมงานหรือผู้ปฏิบัติ
             อาจจะไม่เข้าใจอย่างชัดเจน เช่น การติดป้ายหาเสียงที่ต้องรอ กกต. กำาหนดจุดเสียก่อน ซึ่งจากเดิมที่ภายหลัง

             การประกาศพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งสามารถติดป้ายหาเสียงได้เลย “…แต่หากกล่าวถึงว่าพรรคเพื่อไทยนั้น
             มีความพร้อมมากเพียงใดแล้วนั้น พรรคเพื่อไทยพร้อมมาตลอดและไม่เคยทิ้งพื้นที่เพราะมีเครือข่ายของ

             ผู้น�าท้องถิ่น และส่วนใหญ่ก็ล้วนเป็นนักการเมืองอาชีพ ในส่วนของงบประมาณเงินในการบริหารจัดการเลือกตั้ง
             พรรคส่วนกลางจะเป็นผู้ดูแลหลัก…” (สัมภาษณ์ผู้บริหารสาขาพรรคหนึ่ง วันที่ 15 ธันวาคม 2561)


                      ในช่วงก่อนการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 จากการสำารวจความคิดเห็นของประชาชน

             ทั้งเขตในเมืองและนอกอำาเภอเมืองของจังหวัดเชียงใหม่ต่างเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยยังคงเป็นพรรคที่คาดการณ์ว่า
             จะชนะการเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่ไปได้หลายเขต จะมีบางเขตเลือกตั้งที่มีการแข่งขันสูง เพราะมีการดึงเอา

             อดีต ส.ส. และนักการเมืองท้องถิ่น เช่น ตระกูลการเมือง ณ เชียงใหม่ ที่มีการเปิดตัว นางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่
             และ ดร.เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ลงสมัครในนามพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งจากการสัมภาษณ์ผู้สมัครพรรค

             พลังประชารัฐได้ให้ข้อมูลว่า พรรคมีการประเมินคุณสมบัติผู้สมัครที่มีประสบการณ์การเมืองและมาจากตระกูล
             การเมือง จึงสนับสนุนทุ่มเททรัพยากรที่ส่งเสริมการต่อสู้ในพื้นที่ เพราะเชื่อว่าจะสามารถแย่งชิงคะแนนเสียง

             ในพื้นที่ได้


                      ในขณะที่พรรคการเมืองอื่น ๆ โดยเฉพาะพรรคอนาคตใหม่ที่ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมาเป็นอันดับ 2
             ในจำานวน 6 เขตเลือกตั้งของจังหวัดเชียงใหม่จากทั้งหมด 9 เขตเลือกตั้ง มีการเคลื่อนไหวพบปะประชาชน
             ในจังหวัดเชียงใหม่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนมีการก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ แกนนำาพรรคอนาคตใหม่ทั้ง

             นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจและนายปิยบุตร แสงกนกกุล รวมถึงทีมกรรมการบริหารพรรคในปัจจุบันได้จัดสัมมนา

             และเชิญชวนประชาชน โดยเฉพาะนักวิชาการและนักศึกษา รวมทั้งประชาชนทั่วไปที่มีความคิดและความสนใจ
             ในการเสนอแนะแนวทางการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมาร่วมพบปะพูดคุยหลายครั้งอย่างต่อเนื่อง จนกล่าวได้ว่า
             พรรคอนาคตใหม่สร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มนักศึกษาและคนชนชั้นกลางในเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่ก่อนมีการประกาศ

             พระราชกฤาฎีกาการเลือกตั้ง ปัจจัยสำาคัญประการหนึ่งที่เอื้อให้กระแสของพรรคอนาคตใหม่แรงขึ้นมาอย่าง

             ต่อเนื่องคือ การเน้นหาเสียงกับฐานเสียงของกลุ่มผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสองกลุ่มเป็นหลัก ได้แก่
             กลุ่มที่ 1 กลุ่มคนที่กำาลังจะมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งครั้งแรกเพราะเหตุที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่
             24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และ กลุ่มคนมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ภายหลังการรัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็น
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105