Page 96 - kpiebook63011
P. 96

96    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่








             ที่ได้รับความสนใจแล้วได้โอกาสในการมาเป็นตัวแทนลงเลือกตั้ง หรือบางครั้งต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง

             ที่โดดเด่น เช่น หน้าตา การศึกษา ในขณะที่ผู้สมัครเพศชายไม่ตกบนเงื่อนไขทางเพศมากนัก สามารถเข้าไปสู่
             พื้นที่การเมืองได้ง่ายมากกว่าผู้หญิง นอกจากนี้ยังได้ข้อมูลในทิศทางเดียวกันอีกว่า ผู้หญิงด้วยกันเองก็ยังไม่พร้อม

             ที่จะสนับสนุนผู้หญิงด้วยกันให้เข้าไปทำางานทางการเมือง เพราะสังคมไทยมักทำาให้ผู้หญิงยอมรับบทบาทหน้าที่
             ทางเพศของตนเองในครอบครัว


                      ในขณะที่ผู้สมัครเพศหญิงของพรรคการเมืองใหม่พรรคหนึ่งในเขตอำาเภอเมืองเชียงใหม่ มองว่า

             การมาทำางานการเมืองในฐานะผู้สมัครแข่งขันการเลือกตั้งครั้งแรกต้องพิสูจน์อะไรหลายอย่าง “…พอเข้ามา
             ต้องเรียนรู้เรื่องการเมืองเยอะเพราะไม่ได้เรียนจบทางด้านการเมืองหรือรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์หรือเกี่ยวข้องอะไร

             กับการเมืองเลย เราเข้ามาเพราะคิดว่าอยากแสดงบทบาททางการเมือง เปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง แต่ในเรื่อง
             ของการเป็นผู้หญิง มองว่าเดี๋ยวนี้ไม่แตกต่างแล้ว สังคมมีหลายเพศ บริบทของเขตเมืองไม่ค่อยล�าบากมากนัก

             กับการเป็นนักการเมืองผู้หญิง เพราะอดีต ส.ส.เขต 1 ก็เป็นผู้หญิง ความเป็นเมืองน่าจะมีผลต่อความคิดคน
             ในเรื่องนี้…” (สัมภาษณ์ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. 21 มกราคม 2562)


                      บทบาทของผู้หญิงในทางการเมืองเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงมาอย่างยาวนาน ความพยายามของ

             ทั้งภาครัฐและสังคมในการเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมทางเพศกลายเป็นส่วนหนึ่งในการเรียกร้องโอกาส
             ทางการเมืองของผู้หญิงในพรรคการเมืองและระบบรัฐสภา ความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างชายและหญิงที่เชื่อว่า
             ชายเป็นใหญ่เป็นการตอกยำ้าระบบอุปถัมภ์ในสังคมด้วยค่านิยมชนชั้นอำานาจทางเพศ ดังนั้น การพยายาม

             ส่งเสริมบทบาทของผู้หญิงคือการก้าวข้ามอุปสรรคการกีดกันของความคิดความเชื่อเกี่ยวกับความแตกต่าง

             ทางเพศเป็นตัวกำาหนดความแตกต่างของสิทธิและโอกาสทางการเมืองและสังคม (ไพลิน ภู่จีนาพันธุ์, 2560)
             ในขณะที่สังคมพยายามสร้างรากฐานของประชาธิปไตยผ่านกระบวนการของการเลือกตั้ง การพยายามส่งเสริม
             บทบาทความเท่าเทียมทางเพศและความเสมอภาคในสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกน่าจะเป็นหนทางหนึ่ง

             ของการต่อยอดการพัฒนาการเมืองไทยและเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างประชาธิปไตยด้วยความเสมอภาค

             อย่างแท้จริง
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101